บุหรี่ กับโรคหัวใจ

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2561
image

บุหรี่ กับโรคหัวใจ
โดย Porraphat Jutrakul 
ที่มา : บุหรี่จิ๋ว แต่เจ็บ(ป่วย) โดย มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
องค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 ของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบเป็นผลจากการสูบบุหรี่ และผู้หญิงสูบบุหรี่ที่ได้รับยาคุมกำเนิด จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบมากกว่าสตรีทั่วไปถึงเกือบ 40 เท่า และยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบและโรคระบบหลอดเลือดสูงกว่าสตรีทั่วไปด้วย

รายงานการวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่า กลุ่มผู้สูบบุหรี่จะมีโอกาสหรือความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าคนไม่สูบบุหรี่ 2.4 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูบบุหรีที่เป็นโรคความดันเลือดสูง หรือมีไขมันในเลือดสูง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดถึง 1.5 เท่า ซึ่งหากผู้สูบบุหรี่นั้น เป็นทั้งความดันเลือดและไขมันในเลือดเสื่อม และเกิดความตีบตันเร็วมากกว่าผู้ไม่สูบถึง 10-15 ปี

ผลจากการสูบบุหรี่ต่อการทำงานของหัวใจ

ขณะนี้โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยส่วนใหญ่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่สำคัญ ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสหัวใจวายตายในอายุประมาณ 30-40 ปี ซึ่งสุงกว่าผู้ไม่สูบถึง 5 เท่า สารพิษในควันบุหรี่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดทั่วร่างกาย โดยเกิดเป็นคราบเกาะภายในหลอดเลือด ทำให้รูหลอดเลือดค่อยๆ ตีบลง จนเกิดการตีบตันของเส้นเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยลง จึงทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบหรือโรคหัวใจขาดเลือดได้ เมื่อหลอดเลือดตีบจนมีผลให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้ จะเกิดอาการจุกเสียด เจ็บหน้าอก และถึงขั้นหัวใจวายได้ในที่สุด

credit: www.thaihealth.or.th/Content/42669