วิธีการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
#ไม่อยากล้มแล้วเจ็บนาน…อ่านทางนี้
#การหกล้มมีผลเสียอย่างไรต่อผู้สูงอายุบ้าง?
1. ผู้สูงอายุได้รับบาดเจ็บ เช่น บาดแผลถลอก กระดูกหัก การบาดเจ็บทางสมอง
2. ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองลดลง
3. เพิ่มอัตราการเสียชีวิต
4. เพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา
#อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงของการหกล้ม?
1. ปัจจัยภายในตัวผู้สูงอายุ
1.1 มีประวัติเคยหกล้ม
1.2 การรับรู้บกพร่องหรือมีภาวะสมองเสื่อม
1.3 ตามัว
1.4 ท่าเดินที่ไม่มั่นคง
1.5 การใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน รวมทั้งการใช้ยานอนหลับและยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วง เช่น ยาลดน้ำมูก ยาคลายกล้ามเนื้อ
1.6 ปัญหาโรคประจำตัวหลายๆ โรค เช่น เบาหวาน อัมพาตหลอดเลือดสมอง ปัญหาที่เท้า ความดันโลหิตลดลงขณะเปลี่ยนท่า เป็นต้น
1.7 กล้ามเนื้ออ่อนแรง การทรงตัวไม่ดี
2. ปัจจัยภายนอก
2.1 สภาพแวดล้อม เช่น มีสิ่งของวางเกะกะที่พื้น พื้นต่างระดับ พื้นลื่นเปียก แสงสว่างไม่เพียงพอ ห้องน้ำไม่มีราวจับด้านข้าง เป็นต้น
2.2 เครื่องแต่งกายที่ทำให้เสี่ยงต่อการหกล้ม เช่น กางเกงหรือกระโปรงที่ยาวเกินไป พื้นรองเท้าลื่น
2.3 การใช้อุปกรณ์ช่วยเดินที่ไม่เหมาะสม
#เรามีวิธีการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุได้อย่างไรบ้าง?
1. การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการทรงตัว (ตามภาพ) การฝึกลุกนั่ง
2. การใช้อุปกรณ์ช่วยเดินที่เหมาะสม เช่น การใช้ไม้เท้าช่วยเดิน วอคเกอร์
3. การจัดสภาพบ้านไม่ให้มีสิ่งกีดขวางทางเดิน มีแสงสว่างเพียงพอ หรือเสริมราวจับในสถานที่เสี่ยงต่อการล้ม เช่น ห้องน้ำ
อ้างอิงจาก: คู่มือการดูแลผู้ป่วยทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร