5 อาการออฟฟิศซินโดรมที่พึงระวัง!
5 อาการออฟฟิศซินโดรมที่พึงระวัง!
สนับสนุนเนื้อหา
"หนุ่มสาวหรือคนทำงานออฟฟิศยุคนี้มักประสบกับอาการออฟฟิศซินโดรมที่บั่นทอนสุขภาพกันแทบทั้งนั้น ซึ่งอาการออฟฟิศซินโดรมเหล่านี้มีอะไรบ้าง? และจะมีวิธีบำบัดรักษาได้อย่างไร...ไปอัพเดตกัน"
1.อาการปวดตึงที่คอ บ่า และไหล่
หนุ่มสาวออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ มักมีอาการปวด ตึง บริเวณคอ บ่า และไหล่ บางรายอาจมีอาการปวดเกร็งจนอาจหันคอ ก้ม หรือเงยไม่ได้ก็มี...ที่อาการเบาหน่อยก็อาจจะแค่ปวดคอ บ่า ไหล่ และบริเวณสะบักหลัง หากคุณมีอาการใดอาการหนึ่งเหล่านี้ ควรบำบัดด้วยการไปนวดคลายกล้ามเนื้อด่วนเลย อย่าปล่อยทิ้งไว้นานๆ เพราะหากอาการหนักขึ้นจะบำบัดรักษายากขึ้นตามไปด้วย ใครที่ลองไปนวดแล้วไม่หาย แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางจะดีที่สุด
2.อาการยกแขนไม่ขึ้น
อาการนี้เกี่ยวเนื่องมาจากข้อแรก ซึ่งจะมีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อตั้งแต่คอ บ่า จนถึงไหล่ และร้าวลงไปที่แขน จนเป็นเหตุให้ยกแขนไม่ขึ้น เนื่องจากว่ามีพังผืดมาเกาะที่บริเวณสะบักและหัวไหล่นั่นเอง และบางรายอาจมีอาการชาไปที่มือหรือนิ้วมือด้วย...ใครที่มีอาการแบบนี้ควรบำบัดด้วยการไปให้แพทย์แผนไทยกดจุดเพื่อทำการสลายพังผืด หรือประคบร้อนเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนที่เป็นพังผืดแข็งตึงให้อ่อนตัวลงและคลายความปวดลง อาการก็จะดีขึ้น
3.อาการปวดหลัง
เป็นอีกหนึ่งอาการยอดฮิตของออฟฟิศซินโดรมเลยล่ะ เกิดจากการที่เรานั่งทำงานติดต่อกันนานๆ หรืองานที่ต้องยืนนานๆ โดยเฉพาะคุณสาวๆ ที่ต้องใส่รองเท้าส้นสูงตลอดทั้งวันด้วยแล้ว ยิ่งเกิดอาการปวดหลังได้ง่าย การยกของหนักเป็นประจำหรือการออกกำลังกายหักโหมเกินไปก็เป็นสาเหตุให้ปวดหลังได้เช่นกัน โดยอาจเกิดอาการเคล็ด ขัด ยอก หรือปวด ตึง กล้ามเนื้อบริเวณหลัง จนบางรายอาจไม่สามารถเอี้ยวหรือบิดตัวได้ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์แผนไทยหรือแพทย์เฉพาะทางเพื่อบำบัดแก้ไขอาการเหล่านี้ให้หมดไป
4.อาการปวดและตึงที่ขา
เกิดจากการนั่ง เดิน หรือยืนนานๆ จนทำให้ปวดตึงกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นทั่วทั้งขา บางรายปวดร้าวไปที่เข่าและข้อเท้าก็มี ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการใช้งานขาหนักทุกวันจนเกิดอาการล้าสะสม ซึ่งถ้าปล่อยไว้นานๆ โดยไม่ได้รับการบำบัดแก้ไข อาจทำให้เกิดอาการปวดร้าวและอาการชาลงไปที่บริเวณเท้าและปลายนิ้วเท้าได้ ทางที่ดีแม้มีอาการเพียงเล็กน้อยก็ควรรีบทำการบำบัดโดยด่วน!
5.อาการปวดศีรษะ
ในแต่ละวันคนทำงานออฟฟิศส่วนใหญ่จะเกิดความเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว จนทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ บางรายอาจเกิดจากการทำงานหนักเกินไป หรือต้องเดินทางขึ้นเหนือล่องใต้ตลอดเวลา เมื่อเกิดอาการปวดศีรษะขึ้นมา คนส่วนใหญ่จะแก้ไขด้วยการกินยาแก้ปวด บางรายอาจกินติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาการปวดศีรษะก็จะหายไปชั่วคราว แต่อาจกลับมาทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก ดังนั้น หากคุณมีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คและหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร และรีบรักษาให้หายเสียแต่เนิ่นๆ แล้วคุณจะมีความสุขกับชีวิตมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลจาก : ศูนย์การแพทย์แผนไทยชมพูจันทน์
และhttps://www.sanook.com/women/13107/