โรคพิษสุนัขบ้า
หรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันว่า โรคกลัวน้ำ เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เรบี่ส์ไวรัส (Rabies Virus) มีรูปร่างคล้ายกระสุนปืน เมื่อเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายคนหรือสัตว์แล้วจะเดินทางไปตามเส้นประสาทเข้าสู่สมอง ที่สำคัญ เมื่อเกิดอาการขึ้นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้ ต้องเสียชีวิตทุกราย แต่โรคนี้ป้องกันได้และสามารถทำให้หมดไปจากคนและสัตว์เลี้ยง ในหลายประเทศยังมีผู้เสียชีวิตในพื้นที่ที่ควบคุมโรคในสุนัขไม่ได้ ในปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ.2006) กลุ่มสหวิชาชีพทั่วโรคได้ร่วมกันก่อตั้งองค์กรเพื่อการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า (Global Alliance for Rabies Control) ซึ่งต่อมาได้มีการกำหนดให้มีวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลกขึ้นในเดือนกันยายน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวต่อการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า มีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงสุนัขและป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า |
ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกและองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศร่วมสนับสนุน พร้อมใจกันกำหนดให้วันที่ 28 กันยายนของทุกปี เป็นวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก
ไม่ได้เกิดกับสุนัขเท่านั้นชื่อของโรคทำให้เข้าใจกันผิดคิดว่าโรคนี้เกิดกับสุนัขเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วโรคนี้เกิดกับสัตว์เลือดอุ่นด้วย โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น แมว ชะนี ลิง กระรอก กระแต หนู ค้างคาว แม้แต่สัตว์เศรษฐกิจอย่าง วัว ควาย ม้า สุกร พบในตัวที่มีประวัติเคยถูกสุนัขบ้ากัดมาก่อน หรือสัตว์ป่าในเมืองไทยพบว่า สุนัขเป็นตัวแพร่เชื้อที่สำคัญมากที่สุด กว่า 95% ของผู้เสียชีวิตมีสาเหตุมาจากสุนัข รองมาคือ แมวการติดต่อสุนัขและแมวที่ป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า สามารถแพร่เชื้อได้ทางน้ำลาย เพราะเชื้อจะออกมาในน้ำลายเป็นระยะตั้งแต่ 1 – 7 วันก่อนแสดงอาการจนกระทั่งตาย คนเราจะติดเชื้อนี้ก็ต่อเมื่อ
|
ส่วนใหญ่สุนัข แมว วัว ควาย มีระยะพักตัวไม่เกิน 6 เดือน
ระยะเริ่มแรก มีอาการประมาณ 2 – 3 วัน โดยสุนัขจะมีอารมณ์และอุปนิสัยเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น สุนัขที่ชอบคลุกคลีกับเจ้าของ จะปลีกตัวออกไปหลบซุกตัวเงียบๆ มีอารมณ์หงุดหงิด ตัวที่เคยขลาดกลัวคนก็จะกลับมาคลอเคลีย เริ่มมีไข้เล็กน้อย ม่านตาขยายกว้างกว่าปกติ การตอบสนองต่อแสงของตาลดลง กินข้าวกินน้ำน้อยลง ลักษณะการเคี้ยวหรือกลืนผิดไป
ระยะตื่นเต้น คือ เริ่มมีอาการทางปราสาท สุนัขจะกระวนกระวาย ตื่นเต้น หงุดหงิด ไม่อยู่นิ่ง
กัดแทะสิ่งของ สิ่งแปลกปลอม กัดทุกสิ่งไม่เลือกหน้า ถ้ากักขังหรือล่ามไว้ จะกัดกรงหรือโซ่จนเลือดกบปาก โดยไม่เจ็บปวด เสียงเห่าหอนจะเปลี่ยนไป ตัวแข็ง
ระยะอัมพาต สุนัขจะมีคางห้อยตก ลิ้นมีสีแดงคล้ำห้อยออกนอกปาก น้ำลายไหล และไม่สามารถใช้ลิ้นได้เลย สุนัขอาจแสดงอาการขยอกหรือขย้อนคล้ายมีอะไรอยู่ในลำคอ ขาอ่อนเปลี้ยทรงตัวไม่ได้ ล้มลงแล้วลุกไม่ได้ อัมพาตขึ้นทั่วตัวอย่างรวดเร็วและตายในที่สุด อาการสุนัขบ้ามีทั้งแบบดุร้ายและแบบซึม
สุนัข | ที่แสดงอาการแบบดุร้าย จะแสดงอาการในระยะตื่นเต้นให้เห็นเด่นชัดและยาวนาน แต่จะแสดงอาการในระยะอัมพาตสั้นมาก | |
ที่แสดงอาการแบบซึม จะแสดงอาการในระยะตื่นเต้นสั้นมากจนไม่ทันสังเกตเห็น แต่จะแสดงอาการในระยะอัมพาตเด่นชัด | ||
แมว | อาการคล้ายสุนัขแต่ไม่ชัดเจน และพบอาการแบบดุร้ายมากกว่าแบบซึม สุนัขและแมวที่เป็น โรคพิษสุนัขบ้าจะแสดงอาการป่วยจนกระทั้งตายไม่เกิน 10 วัน | |
โค กระบือ | อาการจะตื่นเต้น กระสับกระส่าย เดินโซเซ มักมีอาการคล้ายมีอะไรติดคอ น้ำลายไหลยืด ท้องอืดป่อง อัมพาตและตาย |
|
|