หากต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรต้องทำอย่างไร?

วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
image

หากต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรต้องทำอย่างไร?

ไม่ต้องว้าวุ่นไป! พบกับ “6 แยก” ข้อปฏิบัติ 6 ข้อสำหรับผู้อาศัยร่วมบ้านเดียวกับผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร ทำอย่างไรจึงจะลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคฝีดาษวานร

-ไม่สัมผัสใกล้ชิด หรือสัมผัสผิวหนังผู้ป่วย

-ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วย ไม่ใช้จาน ช้อนส้อม แก้วน้ำ ร่วมกับผู้ป่วย

-ไม่ซักผ้ารวมกับของผู้ป่วย

-ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า ผ้าขนหนู และเครื่องนอน

-แยกห้องน้ำกับผู้ป่วย แต่หากจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยใช้คนสุดท้าย และเช็ดทำความสะอาดโถสุขภัณฑ์ หรือพื้นที่ที่อาจปนเปื้อนสารคัดหลั่ง ด้วยน้ำยาทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งาน

-แยกขยะที่สัมผัสสารคัดหลั่งของ เช่น เลือด น้ำจากผื่นหรือตุ่ม ทิ้งในถังขยะติดเชื้อ

ฉะนั้นแล้ว หากต้องอาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วยฝีดาษวานร ก็สามารถปฏิบัติตามหลัก “6 แยก” นี้ได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ แยกอาศัย แยกของใช้ ไม่สัมผัส จนกว่าผู้ป่วยจะพ้นระยะแพร่กระจายเชื้อได้ คือ จนกว่าผื่น ตุ่ม หรือแผลของผู้ป่วยตกสะเก็ด สะเก็ดหลุด และมีผิวหนังปกตินั่นเอง

หากมีความเสี่ยง หรือสงสัยว่าติดเชื้อโรคฝีดาษวานร สามารถเข้ารับการตรวจที่สถานพยาบาล โดยแจ้งรายละเอียดอาการและประวัติเสี่ยงแก่เจ้าหน้าที่ หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

อีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้ท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ กดติดตามได้ที่ Facebook Fanpage

กดดู รู้โรค by กรมควบคุมโรค

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค

อาจเป็นกราฟิกรูป ข้อความ

ติดตามข้อมูลข่าวสาร

เว็บไซต์ สื่อต้นแบบโรคและภัยสุขภาพ สำนักสื่อสารคความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค

Home / สื่อมัลติมีเดีย / อินโฟกราฟิก

https://shorturl-ddc.moph.go.th/AwhOH

#ฝีดาษวานร #Mpox #โรคฝีดาษวานรในไทย

#กองโรคเอดส์และโรคติดตอทางเพศสัมพันธ์

#แชร์บอกต่อ #กดดูรู้โรค

#สายด่วนกรมควบคุมโรค1422

#กรมควบคุมโรคห่วงใยอยากเห็นคนไทยมีสุขภาพดี