วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ไข้เด็งกี่
"โรคไข้เลือดออก" หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ไข้เด็งกี" ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ง่ายและมีอันตรายถึงชีวิต จึงขอนำความรู้เรื่องไข้เลือดออกมาแบ่งปันให้ทุกคนค่ะ
อาการของไข้เลือดออก
1. มีไข้สูงอย่างเฉียบพลัน 38.5 - 41 องศาเซลเซียส ประมาณ 2 - 7 วัน (บางรายอาจมีอาการชัก)
2. มีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายตามตัว แขน ขา รายที่รุนแรงอาจอุจจาระเป็นเลือด สีดำ และช็อกได้
3. ตับโต กดเจ็บ ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโต ประมาณวันที่ 3 - 4 นับแต่เริ่มป่วย
4. ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรง เกิดภาวะการไหลเวียนเลือดล้มเหลวหรือภาวะช็อก
5. อาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง
การดูแลผู้ป่วย
- ระยะไข้สูง ให้ยาลดไข้ ร่วมกับการเช็ดตัว (ใช้ยาพาราเซตามอล (อะเซตามิโนเฟน) เพื่อลดไข้ แก้ปวด และหลีกเลี่ยงยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ เช่น ไอบูโปรเฟน และ แอสไพริน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงการมีเลือดออกได้)
- ผู้ป่วยอาจเสียน้ำ ควรให้ดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่
- ดูแลอาการอย่างใกล้ชิด ป้องกันภาวะช็อก
- พบแพทย์ตามนัด เพื่อตรวจเช็คเกร็ดเลือด และความเข้มข้นของเลือด
การรักษา
การรักษายังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับไข้เลือดออก ทำได้คือรักษาตามอาการและประคับประคองซึ่งได้ผลดีควรพบแพทย์ในระยะแรก
การป้องกันเป็นวิธีที่ดีที่สุด สามารถทำได้ดังนี้
- หลีกเลี่ยงที่ที่มียุงชุม หรือใส่เสื้อแขนยาว ขายาว
- กำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุงในบ้าน รวมทั้งบริเวณรอบๆ บ้าน
- เลี้ยงปลากินลูกน้ำในอ่างบัวหรือแหล่งน้ำอื่นๆ
- ปิดฝาโอ่งหรือภาชะอื่นๆ ให้มิดชิด หรือใส่ทรายเคมีกำจัดลูกน้ำ
- ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูในจานรองขาตู้กับข้าว
- ควรนอนในมุ้ง
อาการของไข้เลือดออก
1. มีไข้สูงอย่างเฉียบพลัน 38.5 - 41 องศาเซลเซียส ประมาณ 2 - 7 วัน (บางรายอาจมีอาการชัก)
2. มีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายตามตัว แขน ขา รายที่รุนแรงอาจอุจจาระเป็นเลือด สีดำ และช็อกได้
3. ตับโต กดเจ็บ ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโต ประมาณวันที่ 3 - 4 นับแต่เริ่มป่วย
4. ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรง เกิดภาวะการไหลเวียนเลือดล้มเหลวหรือภาวะช็อก
5. อาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง
การดูแลผู้ป่วย
- ระยะไข้สูง ให้ยาลดไข้ ร่วมกับการเช็ดตัว (ใช้ยาพาราเซตามอล (อะเซตามิโนเฟน) เพื่อลดไข้ แก้ปวด และหลีกเลี่ยงยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ เช่น ไอบูโปรเฟน และ แอสไพริน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงการมีเลือดออกได้)
- ผู้ป่วยอาจเสียน้ำ ควรให้ดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่
- ดูแลอาการอย่างใกล้ชิด ป้องกันภาวะช็อก
- พบแพทย์ตามนัด เพื่อตรวจเช็คเกร็ดเลือด และความเข้มข้นของเลือด
การรักษา
การรักษายังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับไข้เลือดออก ทำได้คือรักษาตามอาการและประคับประคองซึ่งได้ผลดีควรพบแพทย์ในระยะแรก
การป้องกันเป็นวิธีที่ดีที่สุด สามารถทำได้ดังนี้
- หลีกเลี่ยงที่ที่มียุงชุม หรือใส่เสื้อแขนยาว ขายาว
- กำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุงในบ้าน รวมทั้งบริเวณรอบๆ บ้าน
- เลี้ยงปลากินลูกน้ำในอ่างบัวหรือแหล่งน้ำอื่นๆ
- ปิดฝาโอ่งหรือภาชะอื่นๆ ให้มิดชิด หรือใส่ทรายเคมีกำจัดลูกน้ำ
- ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูในจานรองขาตู้กับข้าว
- ควรนอนในมุ้ง
...อ้างอิง https://www.siamzone.com/board/view.php?sid=4152467