เอดส์ *HIV*

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559
image
 


ประวัติความเป็นมา
     โรคเอดส์พบครั้งแรกในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2524 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยเป็นชายรักร่วมเพศป่วยเป็นปอดบวมจากเชื้อ นิวโมซีสตีส แครินิอาย (Pneumocystis Carinii) ทั้งที่เป็นคนแข็งแรงมากมาก่อน และไม่เคยใช้ยากดภูมิต้านทาน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติพบว่าเซลล์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับภูมิต้านทานไม่ สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติจากการศึกษาย้อนหลัง พบว่าโรคนี้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศแถบ อัฟริกาตะวันตกในปี พ.ศ. 2503 และต่อมาได้แพร่ไปยังเกาะไฮติ ทวีปอเมริกา ยุโรปและเอเซียรวมทั้งประเทศไทยด้วย
 
     สำหรับผู้ป่วยเอดส์รายแรกในประเทศไทยนั้นเป็น ชายอายุ 28 ปี เดินทางไปศึกษาต่อที่อเมริกาและมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ เริ่มมีอาการในปี พ.ศ.2526ได้รับการตรวจและรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในอเมริกา พบว่าปอดอักเสบจากเชื้อ Pneumocystis Carinii แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นโรคเอดส์ จึงกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทยในปี พ.ศ.2527 และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
 
โรคเอดส์เกิดจากเชื้ออะไร
     HIV [Human Immunodeficiency Virus] สามารถแบ่งตัวในเซลล์ของคน เช่น เม็ดเลือดขาว เซลล์สมอง เมื่อติดเชื้อร่างกายจะสร้างภูมิต้านทาน [Antibody] ต่อต้านเชื้อไวรัส แต่ไม่สามารถกำจัดให้หมดไป เชื้อยังคงอยู่ในเม็ดเลือดและแพร่ต่อไปได้ และจะไปทำลายเม็ดเลือดขาว ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมการทำงานของระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้ภูมิต้านทานลดลง
 
การร่วมเพศกับผู้ติดเชื้อเอดส์ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย 
     ไม่ว่าชายกับหญิง ชายกับชาย หรือหญิงกับหญิง ทั้งช่องทางธรรมชาติหรือไม่ธรรมชาติ ก็ล้วนมีโอกาสติดโรคนี้ได้ทั้งสิ้น และปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อมากขึ้นได้แก่การมีแผลเปิดและจากข้อมูลของกองระบาดวิทยาพบว่า ร้อยละ 83 ของผู้ป่วยเอดส์ได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
 
การรับเชื้อทางเลือด
     โอกาสติดเชื้อขึ้นอยู่กับปริมาณไวรัสในเลือด พบได้ 2 กรณี คือ    
     - ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ มักพบในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
     - รับเลือดในขณะผ่าตัดหรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด ในปัจจุบันเลือดที่ได้รับบริจาคทุกขวดเกือบ 100% ( โอกาสตรวจผิดหรือเลือดมีเชื้อแต่ยังไม่ให้ผลบวก มีน้อยมาก )
 
การแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก
     ผู้หญิงสามารถติดเชื้อเอดส์ได้จากสามี คู่รัก คู่นอน หรือพฤติกรรมเสี่ยงของตนเอง พบว่าอัตราการติดเชื้อเอดส์ในหญิงมีครรภ์ประมาณร้อยละ 1.46 (มิถุนายน 2543) และสามารถถ่ายทอดให้ทารกได้ทั้งในขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอดและภายหลังคลอดประมาณร้อยละ 60 ในขณะนี้มีวิธีป้องกันการแพร่เชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูกได้โดยการกินยาต้านไวรัส ในช่วงอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ไปจนคลอด สามารถลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ลงได้ร้อยละ 30 เหลือเพียงร้อยละ 8 แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ดี ดังนั้นวิธีที่ดีทีสุดคือ การตรวจเลือดก่อนตัดสินใจตั้งครรภ์ทุกครั้ง ในระยะหลังคลอดเด็กสามารถได้รับเชื้อเอดส์จากแม่ทางน้ำนมได้ องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้ใช้นมผงแทน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงดังกล่าว
 
เชื้อไวรัสเอดส์ติดต่อทางอื่นได้หรือไม่
     การติดต่อทางอื่นนั้นเป็นไปได้ยาก ต้องมีปัจจัยอื่นๆ ด้วยจึงจะติดเชื้อนี้ได้ แต่โอกาสมีน้อยมาก ได้แก่
       - การใช้ของมีคมร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์โดยไม่ทำความสะอาด/ฆ่าเชื้อ เช่น ใบมีดโกน ที่ตัดเล็บ
       - การเจาะหูโดยการใช้เข็มเจาะหูร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์โดยไม่ทำความสะอาด/ฆ่าเชื้อการสักผิวหนัง/สักคิ้ว โดยการใช้เข็มร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์โดยไม่ทำความสะอาด/ฆ่าเชื้อ    
     วิธีดังกล่าวเป็นการติดต่อโดยการสัมผัสกับเลือดหรือน้ำเหลืองโดยตรง โอกาสติดโรคด้วยวิธีนี้ต้องมีแผลเปิด และปริมาณเลือดหรือน้ำเหลืองที่เข้าไปในร่างกายต้องมีจำนวนมาก
 
ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อเอดส์
     โรคเอดส์ไม่ติดกันได้ง่ายๆ ปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อเอดส์มีหลายประการ คือ
     - ปริมาณเชื้อเอดส์ หากได้รับเชื้อมากโอกาสติดโรคก็มากไปด้วย เชื้อเอดส์มีมากที่สุดในเลือด รองลงมาคือ น้ำอสุจิ และน้ำในช่องคลอด
     - การมีบาดแผล เพราะเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลทำให้ติดโรคได้ง่ายขึ้น
     - การติดเชื้ออื่นๆ ได้แก่การเป็นกามโรคบางชนิดเช่น แผลริมอ่อน แผลเริมทำให้มีเม็ดเลือดขาวอยู่ที่แผลจำนวนมากพร้อมจะรับเชื้อได้โดยง่าย และเป็นหนทางให้เชื้อเอดส์เข้าสู่แผลได้ง่ายขึ้น
     - จำนวนครั้งของการสัมผัส การสัมผัสเชื้อโรคบ่อยจะมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้นไปด้วยสุขภาพของผู้รับเชื้อ
ถ้าไปสัมผัสเชื้อเอดส์ในขณะที่ร่างกายไม่แข็งแรงก็จะมีโอกาสรับเชื้อได้ง่ายขึ้น
 
โรคเอดส์มีกี่ระยะ
     ระยะไม่ปรากฏอาการ [Asymptomatic stage]
       ผู้ติดเชื้ออาจจะไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด ระหว่างนี้สุขภาพจะแข็งแรงเหมือนคนปกติ เลือกจะให้ผลบวกหลังรับเชื้อประมาณ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ผู้ติดเชื้อจำนวนมากจะอยู่ในระยะนี้และไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ เมื่อมีเพศสัมพันธ์ ก็อาจถ่ายทอดเชื้อเอดส์ไปสู่คู่เพศสัมพันธ์ได้
     ระยะที่มีอาการ [Symptomatic stage]
       ระยะเริ่มปรากฏอาการ [Symptomatic HIV Infection] เดิมเรียกระยะมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์หรือ ARC [AIDS Related Complex] ปัจจุบันใช้คำใหม่เพื่อเข้าใจง่าย ในระยะนี้นอกจากเลือดจะให้ผลบวกแล้วยังอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เช่น
          - มีเชื้อราในปากบริเวณกระพุ้งแก้ม และเพดานปาก
          - ต่อมน้ำเหลืองโต ที่บริเวณ คอ รักแร้ ขาหนีบ
          - เป็นงูสวัด หรือแผลเริมชนิดลุกลาม
          - มีอาการเรื้อรังนานเกิน 1 เดือน โดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น มีไข้ ท้องเสีย ผิวหนังอักเสบ น้ำหนักลด    
     ระยะโรคเอดส์ [AIDS] ภูมิต้านทานของผู้ป่วยถูกทำลายไปมาก ทำให้เกิดการติดโรคที่มักไม่เป็นในคนปกติ ที่เรียกว่า "โรคติดเชื้อฉวยโอกาส" ซึ่งมีหลายชนิด แล้วแต่ว่าจะติดเชื้อชนิดใด และเกิดที่ส่วนใดของร่างกาย เช่น
          - ถ้าเป็นวัณโรคที่ปอดจะมีอาการไข้เรื้อรัง ไอเป็นเลือด หอบ น้ำหนักลด
          - ถ้าเป็นปอดบวมจากเชื้อ Pneumocystis Carinii จะมีไข้ ไอแห้งๆ หอบ
          - ถ้าเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Cryptococcus จะมีอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้อาเจียน
          - ถ้าเป็นเชื้อราในทางเดินอาหารจะมีอาการ เจ็บคอ กลืนลำบาก
          - บางรายอาจเป็นมะเร็ง
 
โรคเอดส์รักษาให้หายได้หรือไม่
     ขณะนี้ยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายได้เป็นเพียงยับยั้งไม่ให้ไวรัสเอดส์เพิ่มจำนวนมากขึ้นในร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอายุยืนยาวได้อีกนานการดูแลสุขภาพด้วยวิธีการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ยาที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์มี 2 ลักษณะ คือ
     1. ยาต้านไวรัสเอดส์ในปัจจุบัน มี 3 ประเภท คือ
       - Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) ได้แก่ AZT ddl ddC d4T 3TC ABC
       - Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs) ได้แก่ NVP EFV
       - Protease Inhibitors (Pls) ได้แก่ IDV RTV Q4V NFV    
     ยาเหล่านี้มีฤทธิ์เพียงยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอดส์แต่ไม่สามารถ กำจัดเชื้อเอดส์ให้หมดไปจากร่างกายได้ และมีผลข้างเคียงได้แก่โลหิตจาง คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นตามผิวหนัง ฯลฯ ดังนั้นการใช้ยาดังกล่าวต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
     2. ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสหากผู้ป่วยเอดส์มีภูมิต้านทานลดลงมาก (ค่าเม็ดเลือดขาว ชนิด CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์ในเลือก 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร) จะมีโอกาสติดโรคฉวยโอกาสเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องได้รับยาป้องกัน เช่น
       - INH ใช้ป้องกันวัณโรค
       - Cotrimoxazole Dapsone Aerozolized pentamidine ใช้ป้องกันโรคปอดบวม
       - Itraconazole Fluconazole Amphotericin B ใช้ป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
       - Ketoconazole Itraconazole Fluconazole ใช้ป้องกันเชื้อรา    
     ในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนชนิดใดที่สามารถป้องกันหรือรักษาโรคเอดส์ได้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย คาดว่าต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี จึงจะทราบผลว่าสำเร็จหรือไม่ การดูแลสุขภาพด้วยทางเลือกอื่นเป็นวิธีการส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเองอย่างง่ายๆ โดยคำนึงถึงมิติอันหลากหลายของมนุษย์ ไม่เน้นทางด้านร่างกายเท่านั้น อันก่อให้เกิดผลในแง่ป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพทำให้ร่างกายแข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทานและมีจิตใจสงบ มีแนวทางยกตัวอย่างเช่น
     ด้านโภชนาการ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่และเหมาะสมกับอาการของโรค เพื่อให้ได้สารอาหารที่จำเป็นครบถ้วนลักษณะอาการเจ็บป่วยที่พบได้บ่อย คือ
       - น้ำหนักลด ควรเพิ่มอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และแป้ง งดอาหารประเภทไขมัน เนื่องจากย่อยและดูดซึมได้ยาก และควรดื่มน้ำมากๆ
       - เบื่ออาหาร ควรรับประทานอาหารทีละน้อย แต่บ่อยครั้งและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นแรง
       - มีแผลในปาก ควรรับประทานอาหารที่เคี้ยวและกลืนได้ง่ายให้พลังงานสูง เป็นน้ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่กรอบ แข็งและรสจัด
       - คลื่นใส้อาเจียน ควรรับประทานอาหารทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง งดของทอด ของมัน อาหารที่มีรสเค็มและเปรี้ยวจะช่วยลดอาการนี้ได้ อาหารประเภทขิงจะช่วยให้รับประทานอาหารได้ดีขึ้น
       - ท้องเสีย ควรเพิ่มอาหารประเภทแป้งหรือสารโปแตสเซียมสูง เช่น ส้ม น้ำมะพร้าว กล้วย มะเขือเทศ ดื่มน้ำมาก ๆ หลีกเลี่ยงของทอด กาแฟ และอาหารที่มีเส้นใย เช่น ถั่วลิสง ข้าวกล้อง
     สมุนไพร คือ ตัวยาที่ได้จากพืชสัตว์ และแร่ธาตุที่ยังไม่ได้แปรสภาพ มีฤทธิ์กะตุ้นภูมิคุ้มกันและบรรเทาอาการโรคติดเชื้อฉวยโอกาสบางชนิด ได้แก่
       - บรรเทาอาการท้องเสีย เช่น ฟ้าทะลายโจร ฝรั่ง ชา และมังคุด
       - ลดไข้ เช่น ฟ้าทะลายโจร มะระ
       - กระตุ้นให้อยากอาหาร เช่น บอระเพ็ด มะระ กระเทียม
       - กระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น มะขามป้อม กระเทียม ฟ้าทะลายโจร
       - ขับเสมหะ และบรรเทาอาการไอ เช่น มะขามป้อม มะนาว มะแว้งเครือ และมะแว้งต้น
       - ขับลม เช่น กระเพราะ ตะไคร้ ขิง
       - บรรเทาอาการทางผิวหนัง เช่น เสลดพังพอนตัวเมีย หรือพญายอ เหงือกปลาหมอ พลู
       - สมานแผล เช่น ว่านหางจระเข้ แค ทับทิม
       - ช่วยระบายท้อง เช่น ขี้เหล็ก
       - บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน เช่น ยอ    
     อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลใดทางการแพทย์ที่ยืนยันผลของสมุนไพรในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอดส์ ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนศึกษาวิจัย
     2.3 การออกกำลังกาย เสมือนเป็นยาอายุวัฒนะที่ช่วยให้มีอายุยืนยาวอารมณ์แจ่มใส นอนหลับง่าย รูปร่างสมส่วน สุขภาพแข็งแรง ควรออกกำลังกายทุกวันอย่างสม่ำเสมอ และเหมาะสมกับสภาพร่างกาย
     2.4 การปฏิบัติสมาธิ เป็นกระบวนการที่จิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ต้องการ และเพิ่มความสามารถในการควบคุม และเสริมสร้างสุขภาพในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และวิญญาณดีขึ้น อาจทำได้โดย
       2.4.1 การปฏิบัติโดยมีผู้ช่วยเหลือ เช่น พระสงฆ์ช่วยให้คำปรึกษา     
       2.4.2 การปฏิบัติสมาธิด้วยตนเอง เช่น
          - สมาธิโดยการกำหนดลมหายใจ
          - สมาธิโดยการเดินจงกรม
          - สมาธิโดยใช้เทคนิคความเงียบ
          - สมาธิ แบบทำให้สนุกเพลิดเพลินโดยการใช้ภาพจินตนาการที่คิดถึงแล้วรู้สึกสงบ สบาย เพลิดเพลิน
 
ใครบ้างที่ควรตรวจหาเชื้อเอดส์
     ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง และต้องการรู้ว่าตนเองติดเชื้อเอดส์หรือไม่
       - ผู้ที่ตัดสินใจจะมีคู่หรืออยู่กินฉันท์สามีภรรยา
       - ผู้ที่สงสัยว่าคู่นอนของตนจะมีพฤติกรรมเสี่ยง
       - ผู้ที่คิดจะตั้งครรภ์ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของทั้งแม่และลูก
       - ผู้ที่ต้องการข้อมูลสนับสนุนเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพของร่างกาย เช่น ผู้ที่ต้องการไปทำงานในต่างประเทศ (บางประเทศ)
 
ถ้าสงสัยว่าติดเชื้อเอดส์ควรตรวจเลือดเมื่อใด
      การตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอดส์นั้นมิใช่การตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์ แต่เป็นการตรวจหาร่องรอยที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคนั้น ซึ่งเรียกว่า ภูมิต้านทาน และจะตรวจพบได้ในระยะเวลาตั้งแต่ 4 สัปดาห์ถึง 3 เดือนหลังจากรับเชื้อมาแล้วหรืออาจจะนานกว่านั้นก็ได้ ดังนั้น ถ้าสงสัยว่าติดเชื้อเอดส์ ไม่ควรตรวจเลือดทันที เพราะเลือดอาจจะยังไม่ให้ผลเป็นบวก ควรตรวจภายหลังจากที่สัมผัสเชื้อแล้ว 4 สัปดาห์ขึ้นไป
 
การตรวจเลือดมีขั้นตอนอย่างไร
     การตรวจขั้นต้น (Screening test)
       เป็นการตรวจหาภูมิต้านทานโรคต่อเชื้อนั้น (Antibody) ซึ่งราคาถูก สะดวก รวดเร็ว มีความไวสูง และให้ผลที่น่าเชื้อถือได้มากกว่า 99.5% ถ้าหากเลือดให้ผลบวกจะต้องได้รับการตรวจยืนยันอีกครั้งหนึ่ง
     การตรวจยืนยัน (Confirmatory test)
       เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการวินิจฉัยโรคจากการตรวจขั้นต้นว่ามีการติดเชื้อเอดส์จริงหรือไม่
 
เมื่อติดเชื้อเอดส์แล้ว ควรทำตัวอย่างไร
     ผู้ติดเชื้อเอดส์ไม่ควรวิตกกังวลเกินไปผู้ที่ยังไม่มีอาการสามารถดำเนินชีวิตตามปกติโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาล สำหรับผู้ที่มีอาการแล้ว ถ้าดูแลสุขภาพให้ดี ไม่มีโรคแทรกซ้อนก็จะมีชีวิตยืนยาวไปได้อีกหลายปี และในอนาคตอาจจะมีการค้นพบยาที่สามารถรักษา
       - รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีสารอาหารครบถ้วน
       - รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
       - หากมีเพศสัมพันธ์ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการรับหรือแพร่เชื้อเอดส์
       - งดสิ่งเสพติดทุกชนิด งดบริจาคเลือดหรืออวัยวะ
       - ไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะอาจจะถ่ายทอดเชื้อให้ลูกได้ 30%
       - ทำจิตใจให้สงบ เช่น การฝึกสมาธิ
       - อยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก
 
หน่วยงานที่ให้บริการการปรึกษาปัญหาสุขภาพ
     หน่วยที่บริการปรึกษาสุขภาพ(คลินิกนิรนาม)
       โทรศัพท์
       1. โรงพยาบาลบำราศนราดูร  
          : 0 2590 3737 , 0 2590 3737 , 0 2590 3510และ 0 2590 3510
       2. กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์    
          : 0 2286 4453 , 0 2286 4453 , 0 2286 0431และ 0 2286 0431 ต่อ 41
       3. หน่วยกามโรคและโรคเอดส์บางเขน
          : 0 2521 0819 , 0 2521 0819 และ 0 2972 9606-9 ต่อ 30
       4. คลินิกนิรนาม สภากาชาดไทย
          : 0 2256 4107-9  จันทร์ - ศุกร์ (12.00 น. - 19.00 น.) เสาร์ (13.00 น. - 16.00 น.)
       5. โรงพยาบาลรัฐบาลทุกแห่ง
     หน่วยงานที่ให้บริการปรึกษาปัญหาทางโทรศัพท์
       หน่วยงานที่ให้บริการในวันและเวลาราชการ ( จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น. )
       1. โรงพยาบาลบำราศนราดูร  
          : 0 2590 3737 , 0 2590-3510
       2. กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์   
          : 0 2286 4453 , 0 2286 0431 ต่อ 41
       3. หน่วยกามโรคและโรคเอดส์บางเขน               
          : 0 2521 0819 , 0 2521 0819และ 0 2972 9606 – 9 ต่อ 30
       4. สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย
          : 0 2941 2320 ต่อ 181 และ 182
       5. ชมรมแสงเทียนเพื่อชีวิต    
          : 0 2590 3506
       6. ชมรมเพื่อนวันพุธ               
          : 0 2253 2666
     หน่วยงานที่ให้บริการทั้งในและนอกเวลาราชการ
       1. มูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์            
          : 0 2277 7699 , 0 2277 8811 (ฟรี) จันทร์ – ศุกร์ (8.30 น. – 1800 น.) เสาร์ (9.00 น. – 18.00 น.)
       2.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์  
          : 0 2372 2222 ทุกวัน (15.00 น. – 20.00 น.)
 
     โรงพยาบาลเขตกรุงเทพมหานคร ที่เข้าร่วมโครงการการเข้าถึงบริการยาต้านไวรัสระดับชาติสำหรับผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์         
     โทรศัพท์
       1. โรงพยาบาลแม่และเด็ก      
          : 0 2521 3064       
       2. โรงพยาบาลศิริราช ม.มหิดล             
          : 0 2419 7000 , 0 2419 7000            
       3. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย              
          : 0 2252 8181 , 0 2252 8181            
       4.โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล         
          : 0 2246 0024 , 0 2246 0024            
       5. โรงพยาบาลพระปิ่นเกล้า   
          : 0 2468 1116-20 
       6. โรงพยาบาลภูมิพล              
          : 0 2531 1970-99 
       7. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ            
          : 0 2246 1400-28 
       8.โรงพยาบาลหนองจอก        
          : 0 2543 1150 , 0 2543 1150            
       9. โรงพยาบาลกลาง 
          : 0 2221 6141 , 0 2221 6141            
       10. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์บางแค      
          : 0 2421 2222 , 0 2421 2222            
       11. โรงพยาบาลลาดกระบัง    
          : 0 2326 7987 , 0 2326 7987                            
       12. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯอุทิศ               
          : 0 2429 3575 , 0 2429 3575
       13. โรงพยาบาลตากสิน          
          : 0 2437 0123-30
       14. โรงพยาบาลราชวิถ            
          : 0 2246 0052 , 0 2246 0052
       15. โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธาน          
          : 0 2517 4270 , 0 2517 4270
       16. โรงพยาบาลตำรวจ            
          : 0 2252 8111-25
       17. โรงพยาบาลสิรินทร          
          : 0 2328 6900 , 0 2328 6900
       18. โรงพยาบาลตากเลิดสิน    
          : 0 2235 0330-7
       19. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราขินี
          : 0 2246 5991 , 0 2246 5991
       20. ศูนย์บริการสาธารณสุข 41 คลองเตย            
          : 0 2240 2056 , 0 2240 2056
       21. ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย 
          : 0 2256 1407-8
     หน่วยงานที่ให้บริการด้านสวัสดิการและสังคมสงเคราะห์
       ด้านการศึกษา
          โทรศัพท์
             1. มูลนิธิราชประชาสมาสัยฯ         
             : 0 2591 3720 , 0 2591 3720
             2. กลุ่มปัญญาภิวัฒน์                 
             : 0 2591 0450 – 2 ต่อ 307
             3. มูลนิธิหมอเสม พริ้งพวงแก้ว           
             : 0 5342 3862 , 0 5342 3862
 
 
ด้านที่พักอาศัยและให้การดูแล
       1. สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ      
          : 0 2929 2222 , 0 2929 2222
       2. คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
          : 2245 0457 , 0 2245 0457 ,0 2642 8949 , 0 2642 8949
       3. เมอร์ซี่เซ็นเตอร์    
          : 0 2633 5771 – 6, 0 2671 5313 , 0 2671 5313
       4. สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนบ้านเวียงพิงค์          
          : 0 5321 1877 , 0 5321 1877 ,0 5322 0802 , 0 5322 0802
       5. สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท    
          : 0 2245 5635 , 0 2245 5635 , 0 2247 9190 , 0 2247 9190
       6. สถานสงเคราะห์เด็กหญิงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    
          : 0 4229 5251 , 0 4229 5251 , 0 4229 5074 , 0 4229 5074
       7. บ้านอากาเป้(มูลนิธิสหทัยสังคมศึกษาสงเคราะห์)       
          : 0 5380 0946 , 0 5380 0946
       8. มูลนิธิเกื้อดรุณ      
          : 0 5340 8424 , 0 5340 8424
       9. สวนสันติธรรม     
          : 0 2563 1203 , 0 2563 1203
       10. วัดพระบาทน้ำพุ
          : 0 3641 3805 , 0 3641 3805
       11. โครงการสามัคคีธรรมนำสังคม      
          : 0 7649 1180-1
 
ด้านการดูแลรักษาที่บ้าน
       1. องค์กรหมอไร้พรมแดน     
          : 0 2370 3087 , 0 2370 3087
       2. องค์การสยามแคร์
          : 0 2539 5299 , 0 2539 5299 , 0 2530 5902 0 2530 5902
       3. มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
          : 0 2372 2113 – 4
       4. มูลนิธิดวงประทีป
          : 0 2671 4045 , 0 2671 4045 , 0 2249 3553 , 0 2249 3553
     ด้านการสงเคราะห์และทุนประกอบอาชีพ
       1. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคม            
          : 0 2659 6399 , 0 2659 6399 , 0 2659 6933 , 0 2659 6933 สายด่วน 1157
       2. กองสวัสดิการแรงงาน        
          : 0 2245 6774 , 0 2245 6774
       3. มูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท   
          : 0 2416 8073-4
       4. ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานอพยพหญิง   
          : 0 2266 4439 , 0 2266 4439
       5. บ้านสุขสันต์ จ.สงขลา        
          : 0 7431 3409 , 0 7431 3409
       6. ศูนย์เพื่อผู้เดินทางทะเล จังหวัดภูเก็ต              
          : 0 7621 7218 , 0 7621 7218
       7. สำนักพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคมจังหวัด ทุกจังหวัด        
       8. สำนักงานสวัสดิการแรงงานจังหวัด ทุกจังหวัด            
     หน่วยงานที่ให้บริการด้านสิทธิมนุษยชน
       1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ            
          : 0 2219 3573 , 0 2219 3573 หรือ 1377
       2. สำนักอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย               
          : 0 2541 2830 , 0 2541 2830 , 0 2541 2770 0 2541 2770 ต่อ 1200 หรือ 1207
       3.ศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
          : 0 2953 5355-6
 
อ้างอิงข้อมูลจาก : สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์