ยาสามัญประจำบ้าน มีติดบ้านไว้... ดี

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559
image

‘ยาสามัญประจำบ้าน’ คือ ยาที่กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาเอาไว้ว่าเป็นยาที่เหมาะสม ที่สามารถให้ประชาชนหาซื้อมาใช้ได้เองตามร้านขายยาทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เพื่อใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น

ยาเม็ดลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย-ไซเมธิโคน
ยาธาตุน้ำแดง ลดอาการท้องอืด
ผงน้ำตาลเกลือแร่ แก้ท้องเสีย
ผงถ่านรักษาอาการท้องเสีย
ยาระบายมะขามแขก
ยาถ่ายพยาธิลำไส้ มีเบนดาโซล
ยาพาราเซตามอล ลดไข้ บรรเทาปวด
ยาคลอร์เฟนิรามีน แก้แพ้ ลดน้ำมูก
ยาแก้ไอน้ำดำ
ยาดมแก้วิงเวียน
ยาหม่อง
ยาไดเมนไฮดริเนท แก้เมารถ
ยาโพวิโดน-ไอโอดีน ใส่แผลสด
น้ำเกลือล้างแผล
คาลาไมน์โลชั่น ยาทาแก้ผดผื่นคัน

นอกจากนี้ ยังควรมีอุปกรณ์สำหรับปฐมพยาบาลเบื้องต้น (ไม่ใช่ยาสามัญจำบ้าน) เช่น สำลี พลาสเตอร์ปิดแผล ผ้าก๊อซ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคควรเลือกซื้อจากร้านที่มีใบอนุญาตขายยา จัดยาโดยเภสัชกร หรือซื้อจาก

“ร้านยาคุณภาพ”  และควรสังเกตฉลากยาโดยต้องแสดงเลขทะเบียนตำรับยา เช่น Reg. No. 1A 12/35 (กรณียาแผนปัจจุบัน) และฉลากจะต้องมีคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” อยู่ในกรอบสีเขียว ชื่อยา วิธีการใช้ยา คำเตือน วันเดือนปีที่ผลิตหรือวันเดือนปีหมดอายุ ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต รวมทั้งควรสังเกตภาชนะที่บรรจุยาต้องอยู่ในสภาพเรียบร้อย ยาที่บรรจุอยู่ในสภาพดี สมบูรณ์ ทั้งนี้ ควรเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและแสงแดด และควรเก็บแยกกันระหว่างยาใช้ภายในและยาใช้ภายนอก

ข้อมูลอ้างอิง:   ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2542  ฉ.2 พ.ศ. 2549 ฉ.3 พ.ศ. 2550  ฉ.4 พ.ศ. 2555  และ ฉ.5 พ.ศ. 2555
Credit: www.oryor.com/oryor2015

นอกจากนี้ ยังควรมีอุปกรณ์สำหรับปฐมพยาบาลเบื้องต้น (ไม่ใช่ยาสามัญจำบ้าน) เช่น สำลี พลาสเตอร์ปิดแผล ผ้าก๊อซ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคควรเลือกซื้อจากร้านที่มีใบอนุญาตขายยา จัดยาโดยเภสัชกร หรือซื้อจาก

“ร้านยาคุณภาพ”  และควรสังเกตฉลากยาโดยต้องแสดงเลขทะเบียนตำรับยา เช่น Reg. No. 1A 12/35 (กรณียาแผนปัจจุบัน) และฉลากจะต้องมีคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” อยู่ในกรอบสีเขียว ชื่อยา วิธีการใช้ยา คำเตือน วันเดือนปีที่ผลิตหรือวันเดือนปีหมดอายุ ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต รวมทั้งควรสังเกตภาชนะที่บรรจุยาต้องอยู่ในสภาพเรียบร้อย ยาที่บรรจุอยู่ในสภาพดี สมบูรณ์ ทั้งนี้ ควรเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและแสงแดด และควรเก็บแยกกันระหว่างยาใช้ภายในและยาใช้ภายนอก

ข้อมูลอ้างอิง:   ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2542  ฉ.2 พ.ศ. 2549 ฉ.3 พ.ศ. 2550  ฉ.4 พ.ศ. 2555  และ ฉ.5 พ.ศ. 2555

- See more at: http://www.oryor.com/oryor2015/print-detail.php?cat=44&id=1165#sthash.TcD3h5WT.dpuf