วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
โรคกระดุกพรุน
โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่มีการสลายของเนื้อกระดูกอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก อันที่จริงความหมายของกระดูกพรุนก็คือการที่มีความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลงหรือโปร่งบางมากขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานเป็นปี โดยไม่สามารถสังเกตเห็นได้ หรือไม่สามารถรู้สึกได้จนกว่าจะเกิดกระดูกหัก หรือเกิดการค่อมโค้งผิดรูปของกระดูกสันหลังเนื่องจากกระดูกทรุดและตัวเตี้ยลงอย่างชัดเจน
เหตุใดจึงต้องให้ความสำคัญต่อโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน จัดเป็นปัญหาสาธารณะสุขที่สำคัญของประเทศ โดยที่อัตราการเกิดกระดูกหักเนื่องจากกระดูกพรุนในแต่ละปีมีมากขึ้น ประมาณร้อยละ50 ของผู้หญิง และร้อยละ 20 ของผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะต้องเกิดกระดูกหักที่เกี่ยวเนื่องกับกระดูกพรุน และมีความเจ็บปวดทรมานจากกระดูกหักบริเวณสะโพก กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ แขนและขา ซึ่งมักจะเป็นผลสืบเนื่องจากการหกล้ม แต่ก็อาจเกิดจากกิจวัตรประจำวันทั่วไปได้ด้วยเนื่องจากกระดูกเปราะและหักได้ง่าย
จากข้อมูลการศึกษาพบว่า กระดูกสะโพกหักเป็นภาวะกระดูกหักที่ร้ายแรงและบั่นทอนสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจของผู้ป่วยเองและผู้อยู่รอบข้าง ทั้งที่เดิมที่ผู้นั้นอาจจะอยู่ได้ด้วยตัวเอง แต่กลับจะต้องเป็นผู้ที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น หรืออย่างน้อยก็ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดินไปเป็นระยะเวลานาน และประมาณร้อยละ50 ที่จะต้องใช้ตลอดไป โดยที่ค่าใช้จ่ายต่อการรักษาหนึ่งรายนั้นสูงมากทั้งในส่วนที่ผู้ป่วยต้องจ่ายเองและในส่วนที่ภาครัฐต้องจ่ายให้
สาเหตุของโรคกระดูกพรุน
แม้ว่าปัจจับันจะยังไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่าภาวะกระดูกพรุนเกิดจากสาเหตุใดแน่ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่นำไปสู่โรคกระดูกพรุน ดังนี้
อายุ
โดยธรรมชาติ ร่างกายจะมีการสะสมแคลเซียมเข้าในกระดูกเพื่อให้มวลกระดูกหนาแน่นขึ้น โดยจะมีความหนาแน่นสูงสุดที่อายุประมาณ 30 ปี และ
จะคงที่อยู่ระหว่าง 30-40 ปี และมวลกระดูกจะลดลงเรื่อยๆทุกปีหลังจากนั้นจนกระทั่งวัยหมดประจำเดือนในผู้หญิง จะมีการลดลงของมวลกระดูก
อย่างรวดเร็ว และ เมื่ออายุมากกว่า 65ปี มวลกระดูกจะลดต่ำลงจนถึงจุดเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก
พันธุกรรม หรือ กรรมพันธุ์
พบว่าคนเชื้อสายคอเคเชี่ยนและเอเชี่ยน (ผิวขาวและผิวเหลือง) มีอัตราเสี่ยงของกระดูกพรุนสูง และ จะเพิ่มขึ้น เมื่อมีประวัติกระดูกหักของผู้สูงอายุ
ในครอบครัว หรือผู้ที่มีรูปร่างผอมบางอยู่แล้ว
ภาวะโภชนาการและการดำเนินชีวิต
ภาวะทุพโภชนาการ การขาดอาหาร น้ำหนักตัวน้อย หรือการรับประทานแคลเซี่ยมในปริมาณต่ำ และภาวะการดูดซึมแคลเซี่ยมไม่ดี ผู้ที่ชอบการดื่มสุรา
และสูบบุหรี่ ผู้ที่อยู่เฉยๆนั่งๆนอนๆ หรือขาดการออกกำลังกาย
ยาและโรคประจำตัว
ยาที่มีผลต่อกระดูกพรุ่นได้แก่ ยาที่มีสารสเตียรอยด์ ยาเกี่ยวกับโรคต่อมไธรอยด์ โรคเบาหวาน โรคไต เป็นต้น
ทำอย่างไรให้ห่างไกลและปลอดภัยจากโรคกระดูกพรุน?
เบื้องต้นให้ลงทุนด้วยการสะสมแคลเซียมในกระดูกให้มากที่สุดในช่วงอายุก่อน 30 ปี และยังต้องรับประทานแคลเซียมและวิตามิน ดี ไปเรื่อยๆ
ตลอดชีวิต เพื่อให้กระดูกคงสภาพที่ดีและลดความเสี่ยงต่อกระดูกหัก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในทุกช่วงของอายุ
แคลเซี่ยม
ปริมาณแคลเซี่ยมที่ร่างกายต้องการอาจแตกต่างในแต่ละวัย และสภาวะร่างกาย ดังนี้
- อายุ 9-18 ปี เท่ากับ 1,300 มิลลิกรัม ต่อวัน
- อายุ 19-50 ปี เท่ากับ 1,000 มิลลิกรัม ต่อวัน
- สตรีมีครรภ์ และให้นมบุตร เท่ากับ 1,000-1,300 มิลลิกรัม ต่อวัน
- อายุ มากกว่า 50 ปี เท่ากับ 1,200 มิลลิกรัม ต่อวัน
อาหารที่มีปริมาณแคลเซียมมากได้แก่ ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า บร็อคโคลี่ นมและผลิตภัณฑ์ของนม ปลาซาร์ดีนพร้อมกระดูก ปลาตัวเล็กๆพร้อมกระดูกกุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง งาดำ กะปิ เป็นต้น
วิตามินดี
วิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม โดย ร่างกายต้องการ วิตามิน ดี วันละ 200-600 หน่วย ซึ่งในนม 1 แก้ว จะมีวิตามิน ดี 100 หน่วยและมีแคลเซียม 300 มิลลิกรัมถ้าคิดว่าได้แคลเซียมและวิตามิน ดี จากอาหารไม่เพียงพอก็ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรรมเรื่องอาหารเสริม หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือวิตามินรวมเป็นต้น
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในทุกเพศทุกวัย จะช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก และยังช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรงได้ โดยให้ออกกำลังกายชนิดที่มีการลงน้ำหนัก เช่น การเต้นรำ การเดินเร็ว การวิ่งเหยาะๆ ทั้งบนถนนหรือบนลู่วิ่งก็ได้ ทั้งนี้การฝึกการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้มเป็นวิธีการที่ดี ที่จะลดอุบัติการของกระดูกหักได้ เช่น การรำมวยจีนบางประเภท แต่ถ้าไม่แน่ใจให้ปรึกษาแพทย์ก่อน
การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
ลักษณะภายนอกของร่างกายจะช่วยบ่งบอกภาวะกระดูกพรุนได้ โดยเฉพาะกระดูกสันหลังที่ค่อมงองุ้มลง หรือตัวเตี้ยลง แต่นั้นหมายถึงว่ากระดูกสันหลังทรุดตัวลงอย่างมาก หรือมีกระดูกพรุนที่รุนแรงแล้ว ดังนั้นเมื่อหลังวัยหมดประจำเดือนผู้หญิงควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาก่อนที่จะเกิดภาวะโรคกระดูกพรุน
การวินิจฉัยต้องอาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด และการตรวจด้วยเครื่องมือต่างๆ ดังนี้
การถ่ายภาพรังสีของกระดูกในภาวะกระดูกพรุนจะเห็นเนื้อกระดูกจางๆ โพรงกระดูกกว้างออก และมีเส้นลายกระดูกหยาบๆ โดยจะเห็นขอบของกระดูกเป็นเส้นขาวชัด ในบางรายอาจเห็นกระดูกหักหรือกระดูกสันหลังทรุดตัว
การตรวจวัดมวลกระดูก (ความหนาแน่น)
โดยการตรวจด้วยเครื่องมือรังสีชนิดพิเศษ เป็นวิธีการที่ปลอดภัย ไม่เจ็บปวด ใช้ตรวจกระดูกได้ทุกส่วน แต่ที่นิยมและใช้เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด คือ ที่กระดูกสันหลังช่วงเอว และ กระดูกสะโพก
ป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร
กระดูกเป็นโครงสร้างในแกนกลางร่างกาย มีการเสื่อมสลายไปตามอายุ การรักษาจึงต้องเน้นไปที่การป้องกัน ทั้งนี้ยังคงต้องเน้นให้ความสำคัญต่ออาหาร และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ต้องการการรักษา ก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลร่วมกันของแพทย์หลายๆแผนกรวมถึงการให้ยา การผ่าตัด และการฟื้นฟู
ยารักษาโรคกระดูกพรุน
ยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุนมีหลายกลุ่ม ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละราย
ยาฮอร์โมนเพศหญิง
เหมาะสำหรับ ผู้หญิงวัยเริ่มหมดประจำเดือน มีทั้งชนิดรับประทาน ชนิดทา หรือชนิดติดผิวหนัง โดยที่ฮอร์โมนจะช่วยในเรื่องของการลดการสลายของมวลกระดูก ลดอุบัติการของกระดูกหักได้ ทั้งนี้ยังมีข้อดี และข้อพึงระวังของการใช้ฮอร์โมนเพศหญิง อีกหลายประการ ซึ่งจะต้องปรึกษาสูตินรีแพทย์ก่อนการใช้ยา
ยากลุ่มฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่กระดูก
เป็นยาเม็ดรับประทาน โดยที่ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์เฉพาะที่จุดจับตัวของฮอร์โมน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคงสภาพมวลกระดูก เช่นที่กระดูกสันหลังแต่ไม่มีฤทธิ์แบบฮอร์โมนต่อมมดลูกและเต้านม และยังอาจลดอุบัติการของมะเร็งเต้านมได้ ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
ยาแคลซิโตนิน
ยาในกลุ่มนี้เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์อีกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ฮอร์โมนเพศ มีทั้งชนิดยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และ ชนิดพ่นจมูกเพื่อให้ยาดูดซึมในเยื่อบุโพรงจมูกโดยจะออกฤทธิ์ลดการเจ็บปวดได้ และเสริมมวลกระดูกโดยเฉพาะกระดูกสันหลัง และต้องปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต
มียาหลายตัวในกลุ่มนี้ แต่มีการออกฤทธิ์เหมือนกันคือลดการสลายของแคลเซียมออกจากกระดูก มีทั้งชนิดฉีดเข้าหลอดเลืดดำและชนิดรับประทานอาจจะเป็นชนิดทานทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือนก็ได้ โดยจะมีผลต่อกระดูกสะโพก และกระดูกสันหลัง ทั้งนี้มีข้อพึงระวังหลายประการในวิธีการใช้และผลข้างเคียงจากการใช้ยา จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
ยาสตรอนเที่ยม
เป็นยารับประทานกลุ่มใหม่ ซึ่งจะช่วยลดการสลายของมวลกระดูก และเพิ่มมวลกระดูกได้ ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
ยาพาราไธรอยด์ฮอร์โมน
เป็นยากลุ่มใหม่ชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนังทุกวันอย่างน้อย 6 เดือน จะกระตุ้นการสร้างมวลกระดูกได้ดี แต่มีข้อบ่งชี้ที่จำกัดและต้องใช้อย่างระมัดระวังโดยแพทย์จะเป็นผู้สั่งใช้ยากับผู้ป่วยเฉพาะราย
หลักของการรักษาโรคกระดูกพรุน
โดยสรุปแล้ว การใช้ยาต่างๆ ต้องให้เหมาะสมในแต่ละราย ซึ่งถ้าใช้ถูกต้องก็จะมีผลดีต่อการสร้างเสริมมวลกระดูก และลดอุบัติการของกระดูกหักได้ทั้งนี้การป้องกันก่อนการเกิดโรคยังเป็นหัวใจสำคัญสำหรับโรคกระดูกพรุน
เหตุใดจึงต้องให้ความสำคัญต่อโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน จัดเป็นปัญหาสาธารณะสุขที่สำคัญของประเทศ โดยที่อัตราการเกิดกระดูกหักเนื่องจากกระดูกพรุนในแต่ละปีมีมากขึ้น ประมาณร้อยละ50 ของผู้หญิง และร้อยละ 20 ของผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะต้องเกิดกระดูกหักที่เกี่ยวเนื่องกับกระดูกพรุน และมีความเจ็บปวดทรมานจากกระดูกหักบริเวณสะโพก กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ แขนและขา ซึ่งมักจะเป็นผลสืบเนื่องจากการหกล้ม แต่ก็อาจเกิดจากกิจวัตรประจำวันทั่วไปได้ด้วยเนื่องจากกระดูกเปราะและหักได้ง่าย
จากข้อมูลการศึกษาพบว่า กระดูกสะโพกหักเป็นภาวะกระดูกหักที่ร้ายแรงและบั่นทอนสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจของผู้ป่วยเองและผู้อยู่รอบข้าง ทั้งที่เดิมที่ผู้นั้นอาจจะอยู่ได้ด้วยตัวเอง แต่กลับจะต้องเป็นผู้ที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น หรืออย่างน้อยก็ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดินไปเป็นระยะเวลานาน และประมาณร้อยละ50 ที่จะต้องใช้ตลอดไป โดยที่ค่าใช้จ่ายต่อการรักษาหนึ่งรายนั้นสูงมากทั้งในส่วนที่ผู้ป่วยต้องจ่ายเองและในส่วนที่ภาครัฐต้องจ่ายให้
สาเหตุของโรคกระดูกพรุน
แม้ว่าปัจจับันจะยังไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่าภาวะกระดูกพรุนเกิดจากสาเหตุใดแน่ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่นำไปสู่โรคกระดูกพรุน ดังนี้
อายุ
โดยธรรมชาติ ร่างกายจะมีการสะสมแคลเซียมเข้าในกระดูกเพื่อให้มวลกระดูกหนาแน่นขึ้น โดยจะมีความหนาแน่นสูงสุดที่อายุประมาณ 30 ปี และ
จะคงที่อยู่ระหว่าง 30-40 ปี และมวลกระดูกจะลดลงเรื่อยๆทุกปีหลังจากนั้นจนกระทั่งวัยหมดประจำเดือนในผู้หญิง จะมีการลดลงของมวลกระดูก
อย่างรวดเร็ว และ เมื่ออายุมากกว่า 65ปี มวลกระดูกจะลดต่ำลงจนถึงจุดเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก
พันธุกรรม หรือ กรรมพันธุ์
พบว่าคนเชื้อสายคอเคเชี่ยนและเอเชี่ยน (ผิวขาวและผิวเหลือง) มีอัตราเสี่ยงของกระดูกพรุนสูง และ จะเพิ่มขึ้น เมื่อมีประวัติกระดูกหักของผู้สูงอายุ
ในครอบครัว หรือผู้ที่มีรูปร่างผอมบางอยู่แล้ว
ภาวะโภชนาการและการดำเนินชีวิต
ภาวะทุพโภชนาการ การขาดอาหาร น้ำหนักตัวน้อย หรือการรับประทานแคลเซี่ยมในปริมาณต่ำ และภาวะการดูดซึมแคลเซี่ยมไม่ดี ผู้ที่ชอบการดื่มสุรา
และสูบบุหรี่ ผู้ที่อยู่เฉยๆนั่งๆนอนๆ หรือขาดการออกกำลังกาย
ยาและโรคประจำตัว
ยาที่มีผลต่อกระดูกพรุ่นได้แก่ ยาที่มีสารสเตียรอยด์ ยาเกี่ยวกับโรคต่อมไธรอยด์ โรคเบาหวาน โรคไต เป็นต้น
ทำอย่างไรให้ห่างไกลและปลอดภัยจากโรคกระดูกพรุน?
เบื้องต้นให้ลงทุนด้วยการสะสมแคลเซียมในกระดูกให้มากที่สุดในช่วงอายุก่อน 30 ปี และยังต้องรับประทานแคลเซียมและวิตามิน ดี ไปเรื่อยๆ
ตลอดชีวิต เพื่อให้กระดูกคงสภาพที่ดีและลดความเสี่ยงต่อกระดูกหัก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในทุกช่วงของอายุ
แคลเซี่ยม
ปริมาณแคลเซี่ยมที่ร่างกายต้องการอาจแตกต่างในแต่ละวัย และสภาวะร่างกาย ดังนี้
- อายุ 9-18 ปี เท่ากับ 1,300 มิลลิกรัม ต่อวัน
- อายุ 19-50 ปี เท่ากับ 1,000 มิลลิกรัม ต่อวัน
- สตรีมีครรภ์ และให้นมบุตร เท่ากับ 1,000-1,300 มิลลิกรัม ต่อวัน
- อายุ มากกว่า 50 ปี เท่ากับ 1,200 มิลลิกรัม ต่อวัน
อาหารที่มีปริมาณแคลเซียมมากได้แก่ ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า บร็อคโคลี่ นมและผลิตภัณฑ์ของนม ปลาซาร์ดีนพร้อมกระดูก ปลาตัวเล็กๆพร้อมกระดูกกุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง งาดำ กะปิ เป็นต้น
วิตามินดี
วิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม โดย ร่างกายต้องการ วิตามิน ดี วันละ 200-600 หน่วย ซึ่งในนม 1 แก้ว จะมีวิตามิน ดี 100 หน่วยและมีแคลเซียม 300 มิลลิกรัมถ้าคิดว่าได้แคลเซียมและวิตามิน ดี จากอาหารไม่เพียงพอก็ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรรมเรื่องอาหารเสริม หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือวิตามินรวมเป็นต้น
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในทุกเพศทุกวัย จะช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก และยังช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรงได้ โดยให้ออกกำลังกายชนิดที่มีการลงน้ำหนัก เช่น การเต้นรำ การเดินเร็ว การวิ่งเหยาะๆ ทั้งบนถนนหรือบนลู่วิ่งก็ได้ ทั้งนี้การฝึกการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้มเป็นวิธีการที่ดี ที่จะลดอุบัติการของกระดูกหักได้ เช่น การรำมวยจีนบางประเภท แต่ถ้าไม่แน่ใจให้ปรึกษาแพทย์ก่อน
การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
ลักษณะภายนอกของร่างกายจะช่วยบ่งบอกภาวะกระดูกพรุนได้ โดยเฉพาะกระดูกสันหลังที่ค่อมงองุ้มลง หรือตัวเตี้ยลง แต่นั้นหมายถึงว่ากระดูกสันหลังทรุดตัวลงอย่างมาก หรือมีกระดูกพรุนที่รุนแรงแล้ว ดังนั้นเมื่อหลังวัยหมดประจำเดือนผู้หญิงควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาก่อนที่จะเกิดภาวะโรคกระดูกพรุน
การวินิจฉัยต้องอาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด และการตรวจด้วยเครื่องมือต่างๆ ดังนี้
การถ่ายภาพรังสีของกระดูกในภาวะกระดูกพรุนจะเห็นเนื้อกระดูกจางๆ โพรงกระดูกกว้างออก และมีเส้นลายกระดูกหยาบๆ โดยจะเห็นขอบของกระดูกเป็นเส้นขาวชัด ในบางรายอาจเห็นกระดูกหักหรือกระดูกสันหลังทรุดตัว
การตรวจวัดมวลกระดูก (ความหนาแน่น)
โดยการตรวจด้วยเครื่องมือรังสีชนิดพิเศษ เป็นวิธีการที่ปลอดภัย ไม่เจ็บปวด ใช้ตรวจกระดูกได้ทุกส่วน แต่ที่นิยมและใช้เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด คือ ที่กระดูกสันหลังช่วงเอว และ กระดูกสะโพก
ป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร
กระดูกเป็นโครงสร้างในแกนกลางร่างกาย มีการเสื่อมสลายไปตามอายุ การรักษาจึงต้องเน้นไปที่การป้องกัน ทั้งนี้ยังคงต้องเน้นให้ความสำคัญต่ออาหาร และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ต้องการการรักษา ก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลร่วมกันของแพทย์หลายๆแผนกรวมถึงการให้ยา การผ่าตัด และการฟื้นฟู
ยารักษาโรคกระดูกพรุน
ยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุนมีหลายกลุ่ม ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละราย
ยาฮอร์โมนเพศหญิง
เหมาะสำหรับ ผู้หญิงวัยเริ่มหมดประจำเดือน มีทั้งชนิดรับประทาน ชนิดทา หรือชนิดติดผิวหนัง โดยที่ฮอร์โมนจะช่วยในเรื่องของการลดการสลายของมวลกระดูก ลดอุบัติการของกระดูกหักได้ ทั้งนี้ยังมีข้อดี และข้อพึงระวังของการใช้ฮอร์โมนเพศหญิง อีกหลายประการ ซึ่งจะต้องปรึกษาสูตินรีแพทย์ก่อนการใช้ยา
ยากลุ่มฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่กระดูก
เป็นยาเม็ดรับประทาน โดยที่ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์เฉพาะที่จุดจับตัวของฮอร์โมน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคงสภาพมวลกระดูก เช่นที่กระดูกสันหลังแต่ไม่มีฤทธิ์แบบฮอร์โมนต่อมมดลูกและเต้านม และยังอาจลดอุบัติการของมะเร็งเต้านมได้ ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
ยาแคลซิโตนิน
ยาในกลุ่มนี้เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์อีกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ฮอร์โมนเพศ มีทั้งชนิดยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และ ชนิดพ่นจมูกเพื่อให้ยาดูดซึมในเยื่อบุโพรงจมูกโดยจะออกฤทธิ์ลดการเจ็บปวดได้ และเสริมมวลกระดูกโดยเฉพาะกระดูกสันหลัง และต้องปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต
มียาหลายตัวในกลุ่มนี้ แต่มีการออกฤทธิ์เหมือนกันคือลดการสลายของแคลเซียมออกจากกระดูก มีทั้งชนิดฉีดเข้าหลอดเลืดดำและชนิดรับประทานอาจจะเป็นชนิดทานทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือนก็ได้ โดยจะมีผลต่อกระดูกสะโพก และกระดูกสันหลัง ทั้งนี้มีข้อพึงระวังหลายประการในวิธีการใช้และผลข้างเคียงจากการใช้ยา จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
ยาสตรอนเที่ยม
เป็นยารับประทานกลุ่มใหม่ ซึ่งจะช่วยลดการสลายของมวลกระดูก และเพิ่มมวลกระดูกได้ ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
ยาพาราไธรอยด์ฮอร์โมน
เป็นยากลุ่มใหม่ชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนังทุกวันอย่างน้อย 6 เดือน จะกระตุ้นการสร้างมวลกระดูกได้ดี แต่มีข้อบ่งชี้ที่จำกัดและต้องใช้อย่างระมัดระวังโดยแพทย์จะเป็นผู้สั่งใช้ยากับผู้ป่วยเฉพาะราย
หลักของการรักษาโรคกระดูกพรุน
โดยสรุปแล้ว การใช้ยาต่างๆ ต้องให้เหมาะสมในแต่ละราย ซึ่งถ้าใช้ถูกต้องก็จะมีผลดีต่อการสร้างเสริมมวลกระดูก และลดอุบัติการของกระดูกหักได้ทั้งนี้การป้องกันก่อนการเกิดโรคยังเป็นหัวใจสำคัญสำหรับโรคกระดูกพรุน