โรคความดันโลหิต
ความดันโลหิตสูง |
ภาวะความดันโลหิตสูง พบได้ประมาณ 10% ของประชากรทั่วโลก เป็นภาวะเรื้อรังที่พบได้บ่อยในคนไทยและสามารถตรวจพบได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ
อย่างไรจึงจะเรียกว่าความดันโลหิตสูง
โดยปกติผู้ที่อายุไม่ถึง 40 ปี ความดันโลหิตไม่ควรเกิน 140/90 มม.ปรอท ค่าความดันตัวบนอาจจะเพิ่มขึ้นตามอายุ จะทราบค่าความดันโลหิตตัวบนปกติของแต่ละอายุได้ โดยนำจำนวนอายุมาบวกกับ 100 โดยทั่วไปความดันตัวบนไม่ควรเกิน 160 มม.ปรอท และความดันตัวล่าง (ในผู้ใหญ่) ไม่อายุเท่าไหร่ก็ตามไม่ควรเกิน 90 มม.ปรอท
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจะมีอาการอย่างไร
- อาการสำคัญที่พบในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง คือ
- ปวดศีรษะ มึนงง โดยทั่วไปจะปวดบริเวณท้ายทอย และมักจะเป็นในตอนเช้า ถ้าความดันโลหิตสูงมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะมีอาการคลื่นไส้ และตามัวร่วมด้วย ในบางรายอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น
- เหนื่อยง่าย เนื่องจากหัวใจต้องทำงาน
- เลือดกำเดาออก
ผู้ใดบ้างที่มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง
- ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมักจะเป็นผู้ที่
- บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย พี่ ป้า น้า อา มีประวัติเป็นความดันโลหิตสูง โรคอ้วนหรือเบาหวานมาก่อน
- เส้นโลหิตใหญ่ตีบตัน ได้แก่ เส้นโลหิตใหญ่ในช่องท้องหรือเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงไตตีบตัน ถ้าเป็นระยะแรก ๆ ในคนหนุ่มสาวจะแก้ไขได้โดยการทำผ่าตัด
- มีเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต แก้ไขโดยการทำผ่าตัด
- โรคครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดรวมกับการตั้งครรภ์ ความดันโลหิตจะลดลงภายหลังคลอด
- โรคไต เช่น ไตอักเสบ หรือโรคไตเรื้อรังบางชนิด
- ใช้ยาคุมกำเนิดในสตรีบางคน ความดันโลหิตจะหลับปกติเมื่อหยุดยา
- มีความเครียด วิตกกังวล
ถ้าสงสัยว่าความดันโลหิตผิดปกติควรทำอย่างไร
ถ้าสงสัยว่าความดันโลหิตจะผิดปกติ ควรได้รับการวัดความดันโลหิตจากแพทย์หรือพยาบาล เป็นวิธีการตรวจง่าย ๆ ท่านก็จะทราบความดันโลหิตของท่าน ถ้าวัดครั้งแรกสูงกว่า 160/95 มม.ปรอท ควรนอนพัก 5-10 นาทีแล้ววัดใหม่ ถ้วยังสูงเท่าเดิม ควรจะต้องวัดซ้ำในระยะ 2-3 สัปดาห์ ถ้ายังสูงอยู่ถือได้ว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งควรจะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยปกติความดันโลหิตจะไม่คงที่ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ อารมณ์และสิ่งแวดล้อมด้วย
- จะปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อมีความดันโลหิตสูง เมื่อตรวจพบว่าเป็นความดันโลหิตสูง ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ และปฏิบัติตัวอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
- งดอาหารที่มีรสเค็ม เช่น ไข่เค็ม กะปิ เต้าเจี้ยว หมูเค็ม ฯลฯ อาหารที่รับประทานควรปรุงด้วยเกลือหรือน้ำปลายน้อยที่สุด
- ลดอาหารมันทุกชนิด และหลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ เช่น ขาหมู หมู 3 ชั้น อาหารประเภททอดหรือผัดอาหารที่ปรุงด้วยกะทิ ใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหารควรรับประทานไข่ไม่เกิยอาทิตย์ละ 3 ฟอง หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและน้ำตาย เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เกี่ยมอี๋ วุ้นเส้น เผือก มัน ขนมหวาน และผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่
- งดบุหรี่ และเหล้า
- ทำจิตใจให้สบายไม่เครียดและวิตกกังวล หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้อารมณ์เสีย หงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดยการเดิน วิ่งขี่จักรยาน โดยเริ่มทีละน้อย ๆ และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึง 30-45 นาทีต่อวัน การออกกำลังกายจะช่วยให้จิตใจผ่อนคลายจากความเครียดและทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิตดีขึ้น แต่ไม่ควรออกกำลังกายประเภทที่ต้องออกแรงดึงดัน กลั้นหายใจหรือแบ่ง เช่น การชักเย่อ ยกน้ำหนักวิดน้ำ เป็นต้น
- สตรีที่มีความดันโลหิตสูงจากยาคุมกำเนิดควรหยุดยา ปรึกษาแพทย์และพยาบาลเพื่อหาวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม
- รับประทานยาตามที่แพทย์และพยาบาลแนะนำและมาตรวจตามนัด ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ได้แก่
ก. ยากล่อมประสาท เพื่อลดความเครียดและความวิตกกังวล ภายหลังรับประทานยาอาจจะรู้สึกง่วง จึงไม่ควรขับรถหรือทำงานที่เสี่ยงอันตราย
ข. ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดจำนวนน้ำและเกลือในร่างกาย ผู้ที่รับประทานยาจะปัสสาวะบ่อยขึ้น และอาจมีอาการอ่อนเพลีย ท้องอืด หน้ามืด วิงเวียน หรือเป็นตะคริว เนื่องจากมีการขับเกลือแร่ออกไปทางปัสสาวะ จึงจำเป็นต้องรับประทานเกลือแร่ทดแทน หรือรับประทานผลไม้ที่มีเกลือแร่เป็นประจำ เช่น สม กล้วย เป็นต้น
ค. ยาลดความดันโลหิต ภายหลังรับประทานยาถ้าสังเกตพบว่ามีอาการหน้ามืด วิงเวียน อาจเป็นเพราะความดันโลหิตลดต่ำลงมากเกินไป ถ้ามีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับขนาดยาให้เหมาะสม
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง อาจจะซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตไว้สำหรับตรวจสอบความดันโลหิตด้วยตนเองและบันทึกข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษาสำหรับแพทย์
จะเกิดอะไรขึ้น ถ้ามีความดันโลหิตสูงแล้วไม่รักษาหรือรักษาและปฏิบัติตัวไม่สม่ำเสมอ
- ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงแล้วไม่รักษา หรือรักษาและปฏิบัติตัวไม่สม่ำเสมอ อาจเกิดภาวะความดันโลหิตสูงร้ายแรงขึ้น โดยเฉพาะถ้าค่าความดันโลหิตตัวล่างสูงเกิน 130 มม.ปรอท จะเกิดภาวะแทรกซ้อนดังนี้
- สายตาเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว หรือตาบอด หลอดเลือดในตาอาจตีบตันหรือแตกมีการตกเลือดในตาหรือบวมในชั้นตาที่รับภาพ
- อาการทางสมอง หลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาจชักหรือไม่รู้สึกตัว และอาจเกิดอัมพาตถ้ารักษาไม่ทัน
- หัวใจล้มเหลว จากการที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานมากขึ้น จึงทำให้หัวใจโต เกิดอาการเหนื่อย หอบหายใจลำบาก โดยเฉพาะทางกลางคืน และภาวะความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อขาดเลือดจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
- ไตพิการ หรือไตอักเสบ เกิดอาการบวม
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจะมีชีวิตยืนยาวได้เช่นคนปกติหรือไม่
สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่มาก และได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกต่อเนื่อง และปฏิบัติตัวอย่างสม่ำเสมอโดยยังไม่มีภาวะหัวใจโต หรือกล้ามเนื้อหัวใจหน้าขึ้น ไม่มีภาวะไตวาย และหลอดโลหิตยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนักมีโอกาสจะมีชีวิตยืนยาวได้เช่นคนปกติ แต่ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงแล้วมิได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว โอกาสที่จะมีชีวิตยืนยาวย่อมน้อยลง
ที่มา https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/june22/blood.htm