วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

โรคอุจจาระร่วง

image
โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ภัยร้ายช่วงหน้าร้อน
 

ในช่วงหน้าร้อนโรคระบบทางเดินอาหารเป็นโรคที่พบได้มาก โดยเมื่อปี 2555 มีผู้ป่วยทั้งหมด 1,164,902 ราย เสียชีวิต 38 ราย โรคที่พบมากอันดับ 1 กว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยทั้งหมด ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ซึ่งพบผู้ป่วยกว่า 1 ล้านราย และ เสียชีวิต 37 ราย โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดท้องร่วงมาจากหลายปัจจัย อาทิ น้ำแข็งไม่สะอาด อาหารไม่สะอาด
ทั้งนี้ อุจจาระร่วง (Diarrhea)  หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว จำนวน 3 ครั้งต่อกันหรือมากกว่า หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง ใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง
              อุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Diarrhea)  เกิดตั้งแต่เริ่มมีอาการอุจจาระร่วง  เมื่อได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องจะถ่ายอุจจาระดีขึ้นภายใน  5-6 วัน 



สาเหตุ
             สาเหตุของอุจจาระร่วงเฉียบพลันส่วนใหญ่เกิดจาการติดเชื้อ ไวรัส (Rotavirus) เชื้อไวรัสบิดไม่มีตัว (Shigella) ไวรัส Salmonella (เชื้อที่ทำให้เกิด โรคไทฟอยด์) ติดเชื้อไวรัส E Coli  เชื้อไวรัส Campylobucter Jejuni  เชื้ออหิวาต์ และพวกที่เพาะเชื้อไม่ขึ้น
การติดต่อของโรค 
              โดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อที่ออกมากับอุจจาระของผู้ป่วย

ระยะฟักตัวของโรค 
              อาจสั้น 10-12 ชั่วโมง หรือ 24-72 ชั่วโมง ขึ้นกับชนิดของเชื้อก่อโรค

ระยะติดต่อ 
              ช่วงระยะที่มีอาการของโรค
อาการและอาการแสดง
-                   เชื้อไวรัส อาจมีไข้ต่ำๆ เป็นหวัด ต่อมามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และถ่ายอุจจาระเหลวตามมา โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการอยู่นาน 1-6 วัน
-                   เชื้อแบคทีเรีย  อาการถ่ายอุจจาระมีหลายลักษณะ  ตั้งแต่ถ่ายเหลว  มีมูกปนเลือด  รายที่รุนแรงถ่ายอุจจาระเป็นเลือดปนหนอง


การรักษา
                    โดยปกติท้องเสียเฉียบพลันมักจะหายได้เองภายใน 7 วัน ควรให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้อาเจียน แก้ปวดท้อง น้ำเกลือแร่ทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ และการให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุ เช่น Metronidazal สำหรับเชื้อบิดมีตัว Tetracycline สำหรับอหิวาห์ เป็นต้น


เมื่อใดควรไปพบแพทย์
                    1. อาการท้องเสีย ไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมง
                    2. เป็นในผู้ป่วยโรคที่มีภูมิต้านทานต่ำ
                    3. เด็กหรือผู้สูงอายุ ที่มีอาการขาดน้ำมาก ซึมลง
                    4. อาเจียนรุนแรง จนไม่สามารถรับประทานอาหาร หรือน้ำได้
                    5. ถ่ายเป็นมูกเลือด
                    6. มีไข้สูง

การดูแลรักษาเบื้องต้น
                      เมื่อเกิดโรคอุจจาระร่วงสามารถเริ่มต้นรักษาได้ที่บ้านโดยใช้กฎ 3 ข้อ ขององค์การนามัยโลก 
                     1. ให้สารน้ำละลายเกลือแร่โอ อาร์ เอส หรือ ของเหลวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ  (สามารถทำ  ORS  ได้เองโดยใช้น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา  เกลือ 2 หยิบมือ ละลายในน้ำต้มสุก 8 ออนซ์) 
                    2. ให้อาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือน้ำข้าว หรือแกงจืด ไม่งดอาหาร เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร 
                    3. เมื่ออาการโรคอุจจาระร่วงไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์


การป้องกัน
                    โดยการกันดูแลสุขอนามัยในการรับประทานอาหาร การเก็บอาหาร และการปรุงอาหาร รวมทั้งล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
                   องค์การอนามัยโลกได้กำหนดกฎทอง 10 ประการ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคอุจจาระร่วง คือ
                   1. เลือกอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างปลอดภัย เช่น เลือกนมที่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ ผักผลไม้ควรล้างด้วยน้ำปริมาณมากๆ ให้สะอาดทั่วถึง
                   2. ปรุงอาหารให้สุกทั่วถึงก่อนรับประทาน
                   3. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ
                   4. หากมีความจำเป็นต้องเก็บอาหารที่ปรุงสุกไว้นานกว่า 4-5 ชั่วโมง ควรเก็บไว้ในตู้เย็นส่วนอาหารสำหรับทารกนั้นไม่ควรเก็บไว้ข้ามมื้อ
                   5. ก่อนที่จะนำอาหารมารับประทานความอุ่นให้ร้อน
                   6. ไม่นำอาหารที่ปรุงสุกแล้วมาปนกับอาหารดิบอีก เพราะอาหารที่สุกอาจปนเปื้อนเชื้อโรคได้
                   7. ล้างมือให้สะอาด ไม่ว่าจะเป็นก่อนการปรุงอาหาร ก่อนรับประทาน และโดยเฉพาะหลังการเข้าห้องน้ำ
                   8. ดูแลความสะอาดของพื้นที่สำหรับเตรียมอาหาร ล้างทำความสะอาดหลังการใช้ทุกครั้ง
                   9. เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู หรือสัตว์อื่นๆ
                  10. ใช้น้ำสะอาดในการปรุงอาหาร และควรระวังเป็นพิเศษในการใช้น้ำเพื่อเตรียมอาหารเด็กทารกได้
 
                 อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่อาการท้องเสียมักจะหายได้เอง หากรักษาภาวะขาดน้ำ และรับประทานอาหารที่เหมาะสมเพราะการถ่ายอุจจาระเป็นกลไกของร่างกายที่จะขับไล่ของเสีย สารพิษและเชื้อโรคออกจากร่างกาย การรับประทานยาหยุดถ่ายหรือยาแก้ท้องเสียทำให้ลำไส้ต้องเก็บกักเชื้อโรคไว้นานขึ้น และทำให้ท้องอืดแน่นแต่ทั้งนี้หากเกิดภาวะช็อคจะต้องรีบพบแพทย์หรือสามารถขอความช่วยเหลือผ่านสายด่วน 1669ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 
ขอบคุณข้อมูล : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
                    :  กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข