แนวทางการรักษาโรคฝีดาษวานร

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2567
image

หากติดเชื้อโรคฝีดาษวานรแล้ว จะได้รับการรักษาอย่างไร? หาคำตอบได้แล้วที่นี่!

.

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยฝีดาษวานรจะได้รับการรักษาตามความรุนแรงของอาการผู้ป่วยและขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแลรักษา โดยมี 2 แนวทาง ดังนี้

.

1. ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย หรือมีอาการไม่รุนแรง

ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าไม่มีอาการุรนแรง ไม่มีโอกาสเสี่ยงต่อโรครุนแรง และจะได้รับการรักษาตามอาการ

.

- ได้รับการรักษาที่โรงพยายาบาล : แพทย์วินิจฉัยว่าไม่มีอาการรุนแรง และไม่สามารถแยกกักตัวที่บ้านได้ ก็จะได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล

.

- รักษาโดยแยกกักตัวที่บ้าน : แพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาโดยแยกกักตัวที่บ้านได้ (Home Isolation)

.

2. ผู้ป่วยที่มีโอกาสเสี่ยงต่อโรครุนแรง

เป็นผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรที่มีอาการรุนแรง หรือมีภาวะแทรกซ้อนจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส เทคโควิริแมท (Tecovirimat) เพื่อลดความเสี่ยง อาการแทรกซ้อน นานประมาณ 21 วันหรือจนกว่า ผื่น ตุ่ม จะตกสะเก็ดและหลุดลอกออกหมด

.

หากมีความเสี่ยง หรือสงสัยว่าติดเชื้อโรคฝีดาษวานร สามารถเข้ารับการตรวจที่สถานพยาบาล โดยแจ้งรายละเอียดอาการและประวัติเสี่ยงแก่เจ้าหน้าที่ หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

.

#MPOX #mpox #โรคฝีดาษวานร #ฝีดาษวานร