เมืองเปื้อนฝุ่น

วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563
image

PM 2.5 ภัยฝุ่นที่ส่งผลร้ายถึงระดับโครโมโซม

ในวันที่หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองกลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของเราไปแล้ว นอกจากป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากฝุ่นพิษ คุณรู้จักที่มาที่ไปของฝุ่นละออง PM 2.5 ดีพอแล้วหรือยัง และเจ้าฝุ่นละอองขนาดจิ๋วนี้อยู่กับเรามานานแค่ไหนแล้ว และสุดท้ายเราจะรับมือกับภัยครั้งนี้อย่างไร

PM 2.5 ภัยฝุ่นล้อมเมือง ผลกระทบ และวิธีรับมือ

ปรากฏการณ์ฝุ่นล้อมเมืองที่เริ่มส่งผลรุนแรงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อชีวิตคนในเมืองหลวงเป็นวงกว้าง เพราะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เป็นภัยที่มองไม่เห็น ไม่มีกลิ่น แถมยังเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายจากการการสูดดมทางโพรงจมูก

ฝุ่น PM 2.5 เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมอง และโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ

วิธีรับมือกับฝุ่น PM 2.5

วิธีการลดปริมาณฝุ่นละอองที่ดีที่สุด คือ ประชาชนต้องมีจิตสำนึกร่วมกันเพื่อลดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้นของฝุ่นละออง เช่น ลดการจุดธูป ลดการเผาขยะ ซึ่งจะเพิ่มปริมาณฝุ่นเป็นจำนวนมาก สำหรับการป้องกันตนเอง ให้สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองที่เหมาะสม ไม่ใช่หน้ากากอนามัยทั่วไปที่ไม่สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กในระดับ 2.5 ไมครอนได้ แต่ต้องใช้หน้ากากมาตรฐาน N95 จะมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะหน้ากาก N95 ผลิตจากเส้นใยพิเศษที่สามารถกรองฝุ่นละออง หรือเชื้อโรคที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.3 ไมครอนได้ ทำให้ป้องกันฝุ่นขนาด PM 2.5 ไมครอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และอีกตัวช่วยที่มีไว้ไม่เสียหลาย ก็คือ การทำประกันสุขภาพซูเปอร์แพลนของซิกน่า เพราะคุ้มครองค่ารักษากลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรมแบบสุดคุ้ม ให้ความคุ้มครองสูงสุด 3 แสนบาท ซึ่งรวมถึงโรคการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน คือ ช่องจมูกและหลอดลม หรือจะเลือกซื้อความคุ้มครองเสริมตามความเสี่ยงโรคร้ายสูงสุด 3 ล้านบาทต่อโรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคกล้ามเนื้อหัวใจ ฯลฯ ก็ได้ ทั้งหมดนี้ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล
...ให้คุณหายใจได้เต็มปอด หมดห่วงเรื่องสุขภาพ