วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ช่วยโลกลดโลกร้อน ด้วยการจัดการ “ขยะเศษอาหาร” เริ่มต้นที่ตัวเรา
ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า....
นั่นน่าจะเป็นบทท่องก่อนรับประทานอาหารที่หลายคนคุ้นเคย แต่รู้หรือไม่ว่า ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง เมื่อกินทิ้งขว้าง จะกลายเป็น “ขยะเศษอาหาร” จากข้อมูลของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2563 - เม.ย. 2564 พบว่าขยะมูลฝอยในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ถูกจัดเก็บได้มีสัดส่วนของขยะเศษอาหารสูงถึงร้อยละ 44.82 หรือคิดเป็น 3,879 ตัน/วัน จากปริมาณมูลฝอยที่จัดเก็บได้เฉลี่ย 8,655 ตัน/วัน ซึ่งใกล้เคียงกับปีประมาณ 2563 ที่มีสัดส่วนขยะเศษอาหารร้อยละ 45.41 หรือคิดเป็น 4,323 ตัน/วัน จากปริมาณมูลฝอยที่จัดเก็บได้เฉลี่ย 9,520 ตัน/วัน
แล้วรู้หรือไม่ว่าปัญหา “ขยะเศษอาหาร” ส่งผลกระทบกับอะไรบ้าง ที่เห็นได้ชัดก็น่าจะเป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะ การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติเนื่องจากถูกทิ้งโดยไม่เกิดประโยชน์ และยังทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน เนื่องจากสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในขยะเศษอาหาร จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศ ก่อให้เกิดก๊าซมีเทน (CH4 ) เป็นจำนวนมาก โดยก๊าซมีเทนมีความสามารถในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ) ถึง 25 เท่า
ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรุงเทพมหานคร จึงรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน โรงเรียน ร้านอาหาร และสถานประกอบการต่าง ๆ มีการคัดแยกขยะเศษอาหาร สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ตั้งแต่ต้นทาง ที่มีความเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ของตนเอง เช่น การทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักอินทรีย์ และให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ โดยสำนักงานเขตยังได้จัดเก็บขยะอินทรีย์จากแหล่งกำเนิดขนาดใหญ่ เช่น โรงเรียน โรงแรม ตลาดสด ร้านอาหาร ภัตตาคาร และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น เพื่อนำไปหมักทำปุ๋ยใช้ประโยชน์ในพื้นที่ หรือส่งโรงงานหมักทำปุ๋ยอินทรีย์ ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชและโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อนำขยะอินทรีย์ไปแปรรูปให้เกิดประโยชน์
ในส่วนของพวกเราทุกคนก็สามารถช่วยลดขยะเศษอาหารตั้งแต่ต้นทางได้ด้วยตัวเราเอง ด้วยหลัก “3 ต” จำง่ายและทำได้ไม่ยาก...ดังนี้
1. เตรียม (วัตถุดิบ) แต่พอดี การเตรียมหรือควบคุมปริมาณวัตถุดิบในการทำอาหารให้พอดีกับจำนวนคนในบ้าน จะช่วยลดปริมาณอาหารที่ต้องเหลือทิ้งไม่มากจนเกินไป
2. ตักอาหารแต่พอกิน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมง่ายๆ ของตัวเราเอง โดยการตักข้าวหรืออาหารให้พอทาน ไม่เพียงแต่เป็นการควบคุมปริมาณอาหารในจาน แต่ยังช่วยลดแคลอรี่ที่ต้องทานในมื้อนั้นๆ ได้ด้วย
3. เติมแต่พออิ่ม หากไม่อิ่มค่อยตักเพิ่ม เราควรคาดคะเนปริมาณอาหารในการตักแต่ละครั้งเท่าใดถึงจะอิ่ม และไม่เหลือทิ้งเป็นขยะ
การรับประทานอาหารให้หมดจานในทุกๆ มื้อ จะช่วยลดปริมาณขยะเศษอาหาร แต่หากเหลือเศษอาหารจริง ๆ ควรนำไปเลี้ยงสัตว์ หรือทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งหากเราทุกคนสามารถเริ่มต้นทำได้แบบนี้ก็จะเป็นการช่วยโลกลดภาวะโลกร้อนจากปัญหาขยะเศษอาหาร และยังช่วยลดการสูญเสียจากการทิ้งทรัพยากรอาหารได้อีกด้วย
ทั้งนี้ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการจัดการขยะเศษอาหารให้แก่โรงเรียนและประชาชนที่สนใจ สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่อง การจัดการขยะเศษอาหารง่ายๆ ที่ทำได้ด้วยตัวคุณเอง ในรูปแบบของ E-book ขึ้น โดยสามารถดาวน์โหลดได้ตามลิงค์ >> คลิ๊ก
นั่นน่าจะเป็นบทท่องก่อนรับประทานอาหารที่หลายคนคุ้นเคย แต่รู้หรือไม่ว่า ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง เมื่อกินทิ้งขว้าง จะกลายเป็น “ขยะเศษอาหาร” จากข้อมูลของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2563 - เม.ย. 2564 พบว่าขยะมูลฝอยในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ถูกจัดเก็บได้มีสัดส่วนของขยะเศษอาหารสูงถึงร้อยละ 44.82 หรือคิดเป็น 3,879 ตัน/วัน จากปริมาณมูลฝอยที่จัดเก็บได้เฉลี่ย 8,655 ตัน/วัน ซึ่งใกล้เคียงกับปีประมาณ 2563 ที่มีสัดส่วนขยะเศษอาหารร้อยละ 45.41 หรือคิดเป็น 4,323 ตัน/วัน จากปริมาณมูลฝอยที่จัดเก็บได้เฉลี่ย 9,520 ตัน/วัน
แล้วรู้หรือไม่ว่าปัญหา “ขยะเศษอาหาร” ส่งผลกระทบกับอะไรบ้าง ที่เห็นได้ชัดก็น่าจะเป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะ การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติเนื่องจากถูกทิ้งโดยไม่เกิดประโยชน์ และยังทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน เนื่องจากสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในขยะเศษอาหาร จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศ ก่อให้เกิดก๊าซมีเทน (CH4 ) เป็นจำนวนมาก โดยก๊าซมีเทนมีความสามารถในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ) ถึง 25 เท่า
ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรุงเทพมหานคร จึงรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน โรงเรียน ร้านอาหาร และสถานประกอบการต่าง ๆ มีการคัดแยกขยะเศษอาหาร สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ตั้งแต่ต้นทาง ที่มีความเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ของตนเอง เช่น การทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักอินทรีย์ และให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ โดยสำนักงานเขตยังได้จัดเก็บขยะอินทรีย์จากแหล่งกำเนิดขนาดใหญ่ เช่น โรงเรียน โรงแรม ตลาดสด ร้านอาหาร ภัตตาคาร และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น เพื่อนำไปหมักทำปุ๋ยใช้ประโยชน์ในพื้นที่ หรือส่งโรงงานหมักทำปุ๋ยอินทรีย์ ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชและโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อนำขยะอินทรีย์ไปแปรรูปให้เกิดประโยชน์
ในส่วนของพวกเราทุกคนก็สามารถช่วยลดขยะเศษอาหารตั้งแต่ต้นทางได้ด้วยตัวเราเอง ด้วยหลัก “3 ต” จำง่ายและทำได้ไม่ยาก...ดังนี้
1. เตรียม (วัตถุดิบ) แต่พอดี การเตรียมหรือควบคุมปริมาณวัตถุดิบในการทำอาหารให้พอดีกับจำนวนคนในบ้าน จะช่วยลดปริมาณอาหารที่ต้องเหลือทิ้งไม่มากจนเกินไป
2. ตักอาหารแต่พอกิน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมง่ายๆ ของตัวเราเอง โดยการตักข้าวหรืออาหารให้พอทาน ไม่เพียงแต่เป็นการควบคุมปริมาณอาหารในจาน แต่ยังช่วยลดแคลอรี่ที่ต้องทานในมื้อนั้นๆ ได้ด้วย
3. เติมแต่พออิ่ม หากไม่อิ่มค่อยตักเพิ่ม เราควรคาดคะเนปริมาณอาหารในการตักแต่ละครั้งเท่าใดถึงจะอิ่ม และไม่เหลือทิ้งเป็นขยะ
การรับประทานอาหารให้หมดจานในทุกๆ มื้อ จะช่วยลดปริมาณขยะเศษอาหาร แต่หากเหลือเศษอาหารจริง ๆ ควรนำไปเลี้ยงสัตว์ หรือทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งหากเราทุกคนสามารถเริ่มต้นทำได้แบบนี้ก็จะเป็นการช่วยโลกลดภาวะโลกร้อนจากปัญหาขยะเศษอาหาร และยังช่วยลดการสูญเสียจากการทิ้งทรัพยากรอาหารได้อีกด้วย
ทั้งนี้ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการจัดการขยะเศษอาหารให้แก่โรงเรียนและประชาชนที่สนใจ สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่อง การจัดการขยะเศษอาหารง่ายๆ ที่ทำได้ด้วยตัวคุณเอง ในรูปแบบของ E-book ขึ้น โดยสามารถดาวน์โหลดได้ตามลิงค์ >> คลิ๊ก