วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ยูเซ็พ (UCEP) สิทธิคนไทยในเรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉิน
ยูเซ็พ (UCEP) สิทธิคนไทยในเรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉิน
โรคโควิด-19 ระบาด ได้ยินหมอๆ ออกทีวีพูดถึงการใช้สิทธิยูเซ็พ ยู เซ็พ ยูเซ็พ อะไรคือยูเซ็พ (UCEP) วันนี้ผมขอเขียนถึงเรื่องนี้หน่อยนะ เพราะวันหน้าท่านผู้อ่านเกิดโชคไม่ดีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือติดโควิด-19 อาจจะต้องใช้มัน
มาจะกล่าวบทไป... ระบบการดูแลสุขภาพของเมืองไทยเรานี้เรียกว่าระบบดูแลแบบครอบคลุมถ้วยหน้า ( Universal coverage-UC) แปลไทยให้เป็นไทยว่า “ระบบสามสิบบาท” แต่ในความเป็นจริงนั้นมีกองทุนของรัฐร่วมรับผิดชอบอยู่สามกองทุน คือ กองทุนสามสิบบาท กองทุนประกันสังคม กองทุนข้าราชการสวัสดิการ ทั้งสามกองทุนนี้ครอบคลุมคนไทยทุกอย่างไม่มียกเว้น เพราะคนไทยทุกคนต้องสังกัดไม่กองทุนใดก็กองทุนหนึ่งในสามกองทุนนี้
ภายในระบบดูแลสุขภาพถ้วนหน้าครอบจักรวาลนี้ยังมีระบบจ่ายเงินดูแลฉุกเฉินเป็นระบบย่อยเรียกว่า Universal Coverage for Emergency Patients มีชื่อย่อว่า ยูเซ็พ (UCEP) ซึ่งเป็นระบบที่ทำขึ้นมาเพื่อจ่ายเงินให้ผู้ป่วยฉุกเฉินรุนแรงที่เข้ารับการรักษาทั้งในโรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชน ผู้ป่วยซึ่งเข้าข่ายที่จะได้รับสิทธิภายใต้ระบบย่อยนี้ (สิทธิป้ายแดง) ต้องมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ “...หมดสติ ไมรู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัด มีเสียงดัง ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง ขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด หรือมีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ...”
วิธีใช้สิทธิต้องทำเป็นขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 – ต้องรู้ก่อนว่าตัวเองได้สิทธิในกองทุนไหน ถ้าไม่รู้อีโหน่อีเหน่เลยให้เข้าอินเตอร์เน็ตไปที่ http://www.nhso.go.th แล้วกดปุ่ม “ตรวจสอบสิทธิ” เขาก็จะแจ้งข้อมูลมาให้ว่าคุณมีสิทธิอยู่ในกองทุนอะไร มีโรงพยาบาลอะไรเป็นต้นสังกัด ให้จดข้อมูลนั้นใส่กระดาษต้มกิน เอ๊ย! ขอโทษ พูดเล่น จดใส่กระเป๋าเงินไว้
ขั้นที่ 2 – เมื่อคุณป่วยฉุกเฉินจะใช้สิทธิ ไม่ว่ากรณีเข้าโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทันที คุณจะขอใช้สิทธิ UCEP ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป แค่นี้สิทธิของคุณก็มีผลแล้ว
ขั้นที่ 3 – เป็นเรื่องของโรงพยาบาลแล้ว คือเขาจะดำเนินการประเมินผู้ป่วยตามแนวทางที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด (per-authorization)แล้วเขาจะลงทะเบียนคุณเป็นผู้มีสิทธิฉุกเฉิน ซึ่งภาษาคนทำงานเรียกว่าออก PA code แล้วแจ้งยืนยันให้โรงพยาบาลทราบว่าผู้ป่วยคนนี้ได้โค้ดนี้แล้ว ค่าใช้จ่ายใดๆ ใน 72 ชั่วโมงแรก สามารถเรียกเก็บจากสำนักงาน UCEP ได้โดยตรง ทั้งนี้สำนักงาน UCEP จะประสานงานกับกองทุนต้นสังกัดของคุณให้ดำเนินการจ่ายเงินให้โรงพยาบาลเอง และอาจจะประสานกับต้นสังกัด แล้วต้นสังกัดอาจเอารถมารับไปรักษาที่ต้นสังกัดก็ได้ ถ้าเขาไม่มารับ เข้าก็จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหลังจากนั้นให้คุณเอง แต่ถ้าเขามารับ คุณก็ต้องไปรักษากับเขานะ ก็เท่ากับว่าคุณสละสิทธิ UCEP คราวนี้การณ์จะเป็นอย่างไรต่อไปเป็นเรื่องของคุณแล้วนะ UCEP จะไม่จ่ายเงินให้สักบาท
ขอขอบคุณ : นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ และออล แม็กกาซีน
ภายในระบบดูแลสุขภาพถ้วนหน้าครอบจักรวาลนี้ยังมีระบบจ่ายเงินดูแลฉุกเฉินเป็นระบบย่อยเรียกว่า Universal Coverage for Emergency Patients มีชื่อย่อว่า ยูเซ็พ (UCEP) ซึ่งเป็นระบบที่ทำขึ้นมาเพื่อจ่ายเงินให้ผู้ป่วยฉุกเฉินรุนแรงที่เข้ารับการรักษาทั้งในโรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชน ผู้ป่วยซึ่งเข้าข่ายที่จะได้รับสิทธิภายใต้ระบบย่อยนี้ (สิทธิป้ายแดง) ต้องมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ “...หมดสติ ไมรู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัด มีเสียงดัง ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง ขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด หรือมีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ...”
วิธีใช้สิทธิต้องทำเป็นขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 – ต้องรู้ก่อนว่าตัวเองได้สิทธิในกองทุนไหน ถ้าไม่รู้อีโหน่อีเหน่เลยให้เข้าอินเตอร์เน็ตไปที่ http://www.nhso.go.th แล้วกดปุ่ม “ตรวจสอบสิทธิ” เขาก็จะแจ้งข้อมูลมาให้ว่าคุณมีสิทธิอยู่ในกองทุนอะไร มีโรงพยาบาลอะไรเป็นต้นสังกัด ให้จดข้อมูลนั้นใส่กระดาษต้มกิน เอ๊ย! ขอโทษ พูดเล่น จดใส่กระเป๋าเงินไว้
ขั้นที่ 2 – เมื่อคุณป่วยฉุกเฉินจะใช้สิทธิ ไม่ว่ากรณีเข้าโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทันที คุณจะขอใช้สิทธิ UCEP ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป แค่นี้สิทธิของคุณก็มีผลแล้ว
ขั้นที่ 3 – เป็นเรื่องของโรงพยาบาลแล้ว คือเขาจะดำเนินการประเมินผู้ป่วยตามแนวทางที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด (per-authorization)แล้วเขาจะลงทะเบียนคุณเป็นผู้มีสิทธิฉุกเฉิน ซึ่งภาษาคนทำงานเรียกว่าออก PA code แล้วแจ้งยืนยันให้โรงพยาบาลทราบว่าผู้ป่วยคนนี้ได้โค้ดนี้แล้ว ค่าใช้จ่ายใดๆ ใน 72 ชั่วโมงแรก สามารถเรียกเก็บจากสำนักงาน UCEP ได้โดยตรง ทั้งนี้สำนักงาน UCEP จะประสานงานกับกองทุนต้นสังกัดของคุณให้ดำเนินการจ่ายเงินให้โรงพยาบาลเอง และอาจจะประสานกับต้นสังกัด แล้วต้นสังกัดอาจเอารถมารับไปรักษาที่ต้นสังกัดก็ได้ ถ้าเขาไม่มารับ เข้าก็จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหลังจากนั้นให้คุณเอง แต่ถ้าเขามารับ คุณก็ต้องไปรักษากับเขานะ ก็เท่ากับว่าคุณสละสิทธิ UCEP คราวนี้การณ์จะเป็นอย่างไรต่อไปเป็นเรื่องของคุณแล้วนะ UCEP จะไม่จ่ายเงินให้สักบาท
ขอขอบคุณ : นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ และออล แม็กกาซีน
รูปภาพ : www.freepik.com