วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563
สืบสานประเพณีลอยกระทงให้คงอยู่ คู่วัฒนธรรมไทย
ประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2563 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 2563
คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้
- การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
- การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
- การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
- การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
- การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
- การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
- การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล
รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ที่ไปปรากฏอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที มีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ คือ ครั้งหนึ่งพญานาคทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับ พญานาคทูลขออนุสาวรีย์ไว้กราบไหว้บูชา พระพุทธองค์จึงทรงประดิษฐานรอบพระพุทธบาทไว้ที่หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที เพื่อให้บรรดานาคทั้งหลายได้สักการะบูชา
การลอยกระทงที่มีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ยังมีอีก 2 เรื่อง คือ
1. การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ และ
2. การลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธองค์ในวันที่เสด็จกลับจากเทวโลก
แม้ช่วงสองสามวันที่ผ่านมาในเมืองไทยจะมีเรื่องใหญ่ ๆ ที่ดึงดูดความสนใจหลายเรื่อง แต่เมื่อมาถึงวันที่ 2 พ.ย. 2552 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ทุกทิศทั่วไทย...ก็จะสนใจเรื่อง “ลอยกระทง” ด้วย
ทั้งนี้ แม้ว่าเรื่องร้าย ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในคืนวันลอยกระทงจะมิใช่เรื่องใหม่ แต่เรื่องเก่าเรื่องนี้ก็เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุกปี เกิดการสูญเสียขึ้นทุกเทศกาลลอยกระทง ดังนั้น จึงมีการเตือนซ้ำย้ำกันอีกว่า...อย่าประมาท !!
“จากการรวบรวมสถิติอุบัติภัยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบว่า วันลอยกระทงมักเกิดอุบัติภัยในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เช่น อุบัติภัยทางน้ำ ทั้งการจมน้ำ และเรือล่ม เป็นต้น รวมถึงอุบัติภัยจากพลุ และดอกไม้ไฟ” ...เป็นการระบุของ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ซึ่งทาง ปภ. โดยอธิบดี อนุชา โมกขะเวส ก็ได้มีการเตือนภัยที่อาจจะเกิดขึ้น
คำเตือนโดยสรุปคือ... การพาเด็กไปเที่ยวงานวันลอยกระทงควรพาไปตามสถานที่ที่ปลอดภัย เพื่อป้องกัน เด็กพลัดตกน้ำเสียชีวิต ซึ่งจากสถิติการจมน้ำเสียชีวิตของเด็กในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา พบว่า เทศกาลลอยกระทงเป็นช่วงที่เด็กเสี่ยงต่อการจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด ดังนั้น จึงต้องระมัดระวังกันให้ดี หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปบริเวณริมน้ำหรือบนเรือโดยสารที่มีผู้คนเบียดเสียด เพราะเด็กอาจถูกเบียดจนตก น้ำได้ อย่าปล่อยเด็กให้ลอยกระทงเพียงลำพัง รวมถึงกำชับเด็กไม่ให้ลงไปในน้ำเพื่อเก็บเงินในกระทง แม้เด็กจะว่ายน้ำเป็น แต่ก็อาจเป็นตะคริวจมน้ำได้ กับผู้ใหญ่เองก็ต้องระวังเช่นเดียวกับเด็ก ควรเลือกสถานที่ลอยกระทงที่ปลอดภัย มีเจ้าหน้าที่-มีมาตรการดูแลความปลอดภัย ตลิ่งไม่สูงชันเกินไป ไม่ก้มลงหย่อนกระทงต่ำเกินไปเพื่อป้องกันการเสียหลักพลัดตกน้ำ หากมีคนยืนอยู่บริเวณท่าน้ำเป็นจำนวนมากแล้ว ก็ไม่ควรลงไปยืนเพิ่ม เพราะอาจถูกเบียดจนตกน้ำ หากว่ายน้ำไม่เป็นไม่ควรนั่งเรือออกไปลอยกระทงกลางลำน้ำ และถึงว่ายน้ำเป็นก็ต้องระวังการขึ้น-ลงเรือ รวมถึงหลีกเลี่ยงการยืน บนโป๊ะที่มีคนมากๆเพราะหากโป๊ะรับน้ำหนักไม่ไหวอาจพลิกคว่ำได้
ภัยจากพลุ-ดอกไม้ไฟ ก็เป็นอีกภัยช่วงลอยกระทงที่ทาง ปภ.มีการเตือน โดยผู้ปกครองไม่ควรปล่อยให้เด็กเล่นดอกไม้ไฟตามลำพังเพราะอาจเกิดอันตรายได้ ห้ามจุดดอกไม้ไฟใส่ฝูงชนหรือโยนใส่กัน หลีกเลี่ยงการจุดพลุใกล้สายไฟ สถานีบริการน้ำมัน ถังเชื้อเพลิงหรือวัตถุไวไฟต่าง ๆ เพราะอาจเกิดการระเบิด-เกิดอัคคีภัยที่รุนแรง และแม้แต่การดูพลุ-ดอกไม้ไฟที่ทางสถานที่จัดงานลอยกระทงจัดแสดง ก็ต้องไม่ประมาท อย่ายื่นหน้าหรือเข้าไปใกล้ดอกไม้ไฟที่จุดแล้ว รวมถึงควรดูอยู่ในจุดที่อยู่ห่างจากบริเวณที่จุดพลุ-ดอกไม้ไฟประมาณ 10 เมตรขึ้นไป
สำหรับบางพื้นที่ที่มีการปล่อยโคมลอยจุดไฟขึ้นฟ้าในช่วงลอยกระทง ก็ต้องหลีกเลี่ยงการปล่อยโคมลอยบริเวณชุมชนหรือบริเวณที่มีบ้านพักอาศัยหนาแน่น เพราะ โคมอาจตกใส่จนทำให้เกิดเพลิงไหม้ และถ้าอยู่ใกล้ที่ตั้งของสนามบิน ห้ามปล่อยโคมลอยอันจะก่อให้เกิดอันตรายต่อเครื่องบิน ซึ่งกรณีนี้ในพื้นที่ที่จะมีการปล่อยโคมจำนวนมาก ก็จะต้องมีการแจ้งประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องล่วงหน้าก่อน เพื่อป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้น
นอกจากนี้ ปภ.ยังเตือนผู้ที่มีบ้านเรือนอยู่ริมน้ำและผู้ที่ลอย กระทงบริเวณที่มีบ้านเรือนริมน้ำด้วยว่า ต้องระวังกระทงที่มีการจุด ธูปเทียนลอยติดบ้านเรือนที่อยู่ริมน้ำจนเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งภัยนี้ก็ควรต้องกลัว
ทางด้าน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โดย นิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการ ก็มีการออกคำเตือนเกี่ยวกับภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงลอยกระทงเช่นกัน ซึ่งส่วนหนึ่งก็คล้าย ๆ กับที่ได้ว่ามาแล้วข้างต้น และนอกจากนี้ยังเตือนถึง ภัยจากลูกโป่งสวรรค์ ซึ่งก็อาจสร้างความสูญเสียในช่วงลอยกระทงได้เช่นกัน การจัดงานลอยกระทงตามสถานที่ต่าง ๆ ก็มักจะมีการใช้ลูกโป่งสวรรค์ตกแต่งสถานที่-เวที รวมถึงอาจมีการจำหน่าย-จ่ายแจกให้เด็ก ๆ ซึ่งในจุดนี้ก็ควรต้องระมัดระวังให้ดี เพราะลูกโป่งสวรรค์ที่ลอยได้นั้นส่วนใหญ่บรรจุไว้ด้วยก๊าซไฮโดรเจนที่มีคุณสมบัติติดไฟง่าย หากต้องการใช้ลูกโป่งสวรรค์ในงานลอยกระทง ควรใช้ลูกโป่งสวรรค์ที่บรรจุก๊าซฮีเลียม ซึ่งเป็นก๊าซเฉื่อยไม่ติดไฟ จะมีความปลอดภัยกว่า “ก๊าซไฮโดรเจนติดไฟง่าย หากลูกโป่งสวรรค์กระทบกับความร้อนหรือประกายไฟจะทำให้ลูกโป่งระเบิด และเกิดไฟลุกไหม้เป็นอันตรายรุนแรงได้ ดังที่เคยปรากฏเป็นข่าวมาแล้ว” ...ทาง สคบ. เตือน ทั้งนี้ นอกเหนือจากคำเตือนต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ภัยที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มมึนเมา ภัยเมาแล้วขับ ภัยจากการซิ่งรถ ภัยทางเพศ ภัยลักวิ่งชิงปล้น เหล่านี้ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงลอยกระทง ซึ่งแนวทางที่จะช่วยให้พ้นจากภัยต่าง ๆ ในช่วงลอยกระทง และรวมถึงในช่วงเวลาทั่ว ๆ ไปด้วย ที่สำคัญก็คือ “ต้องไม่ประมาท” นั่นเอง
“ลอยกระทง” ในแต่ละปีมักมีเรื่องร้าย ๆ ด้วยเป็นประจำ
หลาย ๆ เรื่องร้ายนั้นเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิด...แต่ก็เกิดขึ้น
ลอยทุกข์-ลอยโศกปีนี้...ขออย่าได้มีโศกนาฏกรรม ?!?!?.
หลาย ๆ เรื่องร้ายนั้นเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิด...แต่ก็เกิดขึ้น
ลอยทุกข์-ลอยโศกปีนี้...ขออย่าได้มีโศกนาฏกรรม ?!?!?.
เมื่อวันที่ 8 พ.ย.62 นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ทุกปีจะพบผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำในคืนวันลอยกระทง จากข้อมูลของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เฉพาะช่วงลอยกระทง 3 วัน (ก่อนวันลอยกระทง วันลอยกระทง และหลังวันลอยกระทง) ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2557-2561 พบผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำรวม 166 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 29 คน โดยปี 2561 พบผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ 26 คนในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 5 คน จึงมีแนวทางป้องกันการจมน้ำให้ยึดหลัก 3 อย่า คือ
1.อย่าใกล้: อย่ายืนใกล้ขอบบ่อ
2.อย่าเก็บ: อย่าลงน้ำไปเก็บเงินในกระทง
3. อย่าก้ม: อย่าก้มไปลอยกระทง
โดยผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดไม่ให้คลาดสายตา และเพิ่มความระมัดระวังเมื่อนำเด็กเข้าใกล้แหล่งน้ำ
ส่วนอุบัติเหตุจากการจุดประทัด ดอกไม้ไฟ และพลุ ทำให้ได้รับบาดเจ็บตามอวัยวะต่างๆของร่างกาย มีคำแนะนำเพื่อความปลอดภัย ดังนี้
- ไม่จุดประทัด พลุ ดอกไม้ไฟ ใกล้วัตถุไวไฟหรืออาคารบ้านเรือน ไม่เล่นผาดโผน อาจเสี่ยงเกิดการระเบิดได้
- ผู้ปกครองไม่ควรให้เด็กนำประทัด ดอกไม้ไฟมาจุด
- หากจำเป็นต้องใช้ในงานพิธี ควรอ่านคำแนะนำก่อน และควรจุดให้ห่างจากตัวประมาณ 1 ช่วงแขน
- ห้ามพยายามจุดประทัด ดอกไม้ไฟ และพลุที่จุดแล้วไม่ติดอย่างเด็ดขาด
- ไม่เก็บประทัด ดอกไม้ไฟ และพลุไว้ในกระเป๋าเสื้อ กางเกง หรือที่มีอากาศร้อน แดดส่องถึง เพราะอาจเกิดการเสียดสีและระเบิดได้
- ควรเตรียมภาชนะบรรจุน้ำไว้ใกล้ๆ ไว้ใช้กรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน
- ห้ามประกอบหรือดัดแปลงประทัด ดอกไม้ไฟ และพลุไว้จุดเองเด็ดขาด
- ให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 อย่างเคร่งครัด
- หากเกิดอุบัติเหตุ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อนิ้วหรืออวัยวะใดอวัยวะหนึ่งขาดจากแรงระเบิด ให้รีบห้ามเลือดบริเวณที่อวัยวะขาด - โดยใช้ผ้าสะอาดปิดบาดแผล และพันบาดแผลให้แน่นเพื่อป้องกันเลือดออก ไม่ควรใช้เชือกหรือสายรัดเหนือแผลเพราะจะทำให้เส้นประสาทหรือหลอดเลือดเสียหายได้
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
- https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/853840
- https://news.thaipbs.or.th/content/267368
- https://www.thaihealth.or.th/Content/22433-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%87%E0%B8%8D%20'%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%87'%20.html