“สิทธิประกันสังคมที่ลูกจ้างต้องรู้”

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563
image
“สิทธิประกันสังคมที่ลูกจ้างต้องรู้”
หลายคนคงเซ็ง พอเงินเดือนออกปุ๊บหักภาษี ณ ที่จ่าย หักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมไปถึงหักประกันสังคม สุดท้ายมาดูยอดสุทธิ นี่เงินเดือนหรือเงินทอนกันครับ??? แล้วมันคุ้มไหมกับที่หักไป มาดูกันครับ
ประกันสังคม เป็นการออมเงินภาคบังคับที่รัฐบาลสนับสนุนให้คนไทยทุกคนมีหลักประกันในการใช้ชีวิต มีความมั่นคงให้ครอบครัวและมีเงินเก็บส่วนหนึ่งเตรียมพร้อมใช้เพื่อการเกษียณ จริงๆ แล้วประกันสังคมมีกันทั่วโลกนะครับ แต่ถ้าถามว่าคุ้มไหม จ่ายไปมีประโยชน์อะไรบ้าง เราลองมาเช็คดูกันว่าสิทธิประกันสังคมทั้ง 8 อย่าง มีอะไรบ้าง
1. เจ็บป่วยเบิกได้
- รักษาพยาบาลฟรี ตามโรงพยาบาลที่ระบุเลือกไว้ในบัตร (ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน)
- กรณีผู้ป่วยใน ค่าห้องและค่าอาหาร โรงพยาบาลรัฐบาล เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท ในส่วนของค่าห้องและค่าอาหาร โรงพยาบาลเอกชน เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท (ICU 4,500)
2. ทำฟันได้อีก
- ผุ อุด ขูดหินปูนได้ 900 บาท/ครั้ง/ปี
3. ทุพพลภาพมีชดเชย *เงื่อนไข: ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ
- ในกรณีทุพพลภาพร้ายแรง รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดชีวิต  
4. จากไปมีเงินให้คนข้างหลัง
- รับค่าทำศพ 40,000 บาท
- รับเงินสงเคราะห์เสียชีวิตเท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 ของเงินเดือนถึง 6 เดือน (ขึ้นอยู่กับระยะเวลาส่งเงินสมทบ)
5. มีลูกช่วยจ่ายค่าคลอด *เงื่อนไข: จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร
- สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 13,000 บาทต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
- ผู้ประกันตนหญิงได้รับเงินสงเคราะห์จากการลาคลอดเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือนเป็นระยะเวลา 90 วัน (ใช้สิทธิได้เฉพาะบุตรคนที่ 1 และ 2 เท่านั้น)
6. ลูกเรียนช่วยค่าเทอม *เงื่อนไข: จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 600 บาท ตั้งแต่บุตรอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ (สูงสุด 3 คนต่อครั้ง)
7. ตกงานมีเงินให้
*เงื่อนไขการใช้สิทธิประกันสังคม   1.จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน
2. มีระยะเวลาว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
3. ต้องไม่ถูกเลิกจ้างในกรณี ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ในกรณีที่ถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินชดเชย 50% ของเงินเดือน (สูงสุดไม่เกิน 180 วัน คำนวณจากฐานเงินเดือน 15,000 บาท)
- ในกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างงาน ได้รับเงินชดเชย 30% ของเงินเดือน (สูงสุดไม่เกิน 90 วันคำนวณจากฐานเงินเดือน 15,000 บาท)
8. เกษียณไปมีค่าขนม
กรณีบำนาญชราภาพ *เงื่อนไขการใช้สิทธิ์  จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน (ไม่ต้องจ่าย 180 เดือนติดต่อกัน) มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
- ถ้าจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ประมาณ 3,000  ต่อเดือน)
- ถ้าจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนจะได้รับการปรับเพิ่มบำนาญชราภาพอีกร้อยละ 1.5 สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนทุกๆ 12 เดือนที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนนั้น
กรณีบำเหน็จชราภาพ *เงื่อนไขการใช้สิทธิ์จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
สิทธิประโยชน์
- ถ้าจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ
- ถ้าจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ พร้อมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
- กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับตั้งแต่ได้สิทธิบำนาญชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต
การหักเงินประกันสังคม สำหรับคนที่เงินเดือนไม่มากถือเป็นเงินจำนวนมากพอสมควรที่ต้องจ่าย ส่วนคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ ก็มักคิดว่า “ไม่อยากจ่าย” หรือ “เอาเงินไปทำอย่างอื่นเองคงจะดีกว่า” แต่จริงๆ แล้วสิทธิประกันสังคมมีข้อดีอีกมากที่หลายคนอาจจะยังไม่ได้ตระหนักถึงหรือยังไม่รู้ เพราะนอกจากเรื่องพื้นฐานอย่างการการขูดหินปูน เบิกค่ารักษาพยาบาลแล้ว ก็ยังได้สิทธิอีกมากมายที่เราควรรู้ไว้ ได้แก่
การใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย
เข้ารับการรักษาพยาบาลที่หน่วยบริการปฐมภูมิก่อนทุกครั้ง แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด))
เจ็บป่วยฉุกเฉิน การวินิจฉัยว่า เจ็บป่วยฉุกเฉิน แพทย์จะพิจารณาตามข้อบ่งชี้ ดังนี้
- โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายต่อผู้อื่น
- โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรง ต้องรักษาเป็นการเร่งด่วน
- โรคที่ต้องผ่าตัดด่วน หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต
- โรคหรือลักษณะอาการของโรคที่คณะกรรมการกำหนด
ทั้งนี้ แพทย์จะพิจารณาจากความดันโลหิต ชีพจร อาการของโรค การวินิจฉัยโรค แนวทางการรักษาและความเร่งด่วน ในการรักษารวมทั้งคำนึงถึงการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่อการป่วยด้วย
แนวทางการใช้สิทธิ คือ เข้ารับการรักษากับหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุด แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด) ทั้งนี้ แพทย์จะพิจารณาจากความดันโลหิต ชีพจร อาการของโรค การวินิจฉัยโรค แนวทางการรักษาและความเร่งด่วน ในการรักษารวมทั้งคำนึงถึงการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่อการป่วยด้วย
แนวทางการใช้สิทธิ คือ เข้ารับการรักษากับหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุด
แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด)
หมายเหตุ : กรณีฉุกเฉิน สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการอื่นที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นอกเหนือหน่วยบริการประจำได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง  ปัจจุบัน มีนโยบายใช้บัตรประจำตัวประชาชนแทนบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า
กรณีอุบัติเหตุ ผู้มีสิทธิสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่หน่วยบริการอื่นนอกเหนือหน่วยประจำครอบครัวได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้
กรณีได้ประสบอุบัติเหตุทั่วไป เข้ารับการรักษากับหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุด
แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด))
กรณีประสบภัยจากรถ ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ ต่อเนื่องจากค่าเสียหายเบื้องต้นที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ หรือบริษัทประกันภัยเป็นผู้จ่าย โดย เข้ารับการรักษายังหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ
แจ้งใช้สิทธิพร้อมหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้และมีรูปถ่าย (หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร) สำเนา พ.ร.บ.รถที่ประสบภัย หากมีความเสียหายเกินค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยสำรองจ่ายแล้วไปรับคืนจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (กรณีได้ข้อยุติว่ารถคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด)
เข้ารับการรักษายังหน่วยบริการที่ไม่เข้าร่วมโครงการ แจ้งใช้สิทธิพร้อมหลักฐานประกอบได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด)) สำเนา พ.ร.บ.รถที่ประสบภัย ติดต่อสายด่วน สปสช. 1330 เพื่อประสานหาเตียงรองรับ ในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพต่อเนื่อง หากมีความเสียหายเกินค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยสำรองจ่ายแล้วไปรับคืนจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (กรณีได้ข้อยุติว่ารถของคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด) หมายเหตุ : ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ไม่ได้กำหนดให้โรงพยาบาลเรียกเก็บแทนผู้ประสบภัย
การส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่อง เข้ารับการรักษา ณ หน่วยบริการตามสิทธิหลักประกันสุขภาพ แจ้งความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง พร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตร (ใบเกิด)) หากการรักษาพยาบาลครั้งนั้นเกินศักยภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการปฐมภูมิจะพิจารณาส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพที่สูงกว่าตามภาวะความจำเป็นของโรค

 

 
ที่มา https://flowaccount.com/blog/?p=2074
https://www.finnomena.com/preecha_manop/social-security-is-worth-or-not/
https://www.posttoday.com/life/work-life-balance/601129