ค่านิยมของคนไทยเกี่ยวกับการทำงาน

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563
image

ค่านิยมของคนไทยเกี่ยวกับการทำงาน

 
นักมานุษยวิทยายอมรับว่า ค่านิยมมีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมทางวัฒนธรรมของคน กล่าวคือ ค่านิยมเป็นมาตรฐาน ที่ใช้ในการประเมินว่าอะไรสำคัญ อะไรไม่สำคัญ ทำหน้าที่กำหนดวิธีการดำเนินชีวิต เป็นแกนของระบบสังคม เป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับบุคคลในสังคม ที่จะเข้าใจและรับรู้สิ่งต่างๆที่อยู่ในสังคม
ค่านิยมเป็นตัวกำหนดว่าสิ่งใดมีค่าควรเลือก สถานการณ์ใดควรเลือกสิ่งใดจึงจะเหมาะ ค่านิยมจึงมีอิทธิพล ต่อการเลือกวิธีการ และเป้าหมายของการกระทำที่คนในสังคม อยากจะเป็น อยากจะทำ เป็นตัวกำหนดว่า อะไร "ถูก" อะไร "เหมาะ"ที่จะปฏิบัติ  ที่จะเชื่อ
ในแง่เศรษฐกิจ ค่านิยมทำหน้าที่ 2 ประการ ประการแรก ค่านิยมทำให้เกิดเป้าหมายส่วนบุคคลและสาธารณะ  ค่านิยมที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ จะต้องเป็นค่านิยมที่ส่งเสริมการผลิต จริงอยู่เป้าหมายสูงสุดอาจจะไม่ใช่เพื่อเศรษฐกิจโดยตรง  แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดนั้น เป้าหมายสูงสุดอาจจะเป็น การมีอำนาจ เกียรติ สวัสดิการ ฯลฯ ประการที่สอง ค่านิยมทำให้เกิดนิสัยชอบ  หรือทำให้เกิดกิจกรรมที่สัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจ
ความต้องการเป็นจุดเริ่มต้นของค่านิยม  ไม่ว่าความต้องการนั้นจะเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน หรือเป็นความต้องการขั้นสูง และไม่ว่าความต้องการนั้นทำให้เกิดความกดดันมากหรือน้อย
ในแง่ของการทำงาน นักมานุษยวิทยาเชื่อว่า นอกจากมนุษย์จะทำงานเพื่อชีวิตรอดแล้ว เหตุจูงใจที่สำคัญ ที่จูงใจให้คนเราทำงานคือค่านิยม ค่านิยมมีอิทธิพลเหนือวิธีการทำงาน  การปฏิบัติต่อนายจ้าง ตลอดจนวิธีแก้ปัญหาในการทำงาน และยังพบต่อไปว่า ค่านิยมยังเป็นตัวกำหนดคุณค่าในการทำงานให้แตกต่างกัน และค่านิยมที่เกี่ยวกับการทำงานในแต่ละสังคมจะแตกต่างกัน
ระบบค่านิยมของสังคมไทย มีแนวโน้มส่งเสริมพฤติกรรมทางจิต และสร้างสรรค์วัฒนธรรมทางจิต  ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า อะไรก็ตามที่ทำให้เกิดความเจริญแก่จิตใจมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่า  อันไหนที่มีคุณค่าทางจิตใจมาก คนไทยจะนิยมมาก การเน้นคุณค่าทางจิตใจ ทำให้ค่านิยมทางวัตถุลดความสำคัญลง  มีผลทำให้การทำงานน้อยลงเช่นกัน ทั้งนี้เพราะการทำงานเป็นวิธีการที่จะนำไปสู่การได้วัตถุ
สังคมไทยนิยมการวางเฉย คือไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องของคนอื่น รวมทั้งวางเฉยต่อสถานการณ์ต่างๆ ลักษณะการวางเฉย ทำให้ขาดการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มโดยมีเป้าหมายร่วมกัน ตลอดจน ทำให้ขาดความกระตือรือร้นที่จะทำงานเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ
คนไทยมีค่านิยมสนุก จะเห็นได้จากการกระทำของคนไทยในหลายกรณี ในการดำเนินชีวิตแบบไทย จะเน้นความสนุกเฉพาะหน้า โดยไม่คำนึงถึงอนาคตมากนัก คนไทยจะหลีกเลียงการทำงานที่ไม่สนุก  เช่นการทำงานที่ต้องรับผิดชอบมาก หรือเป็นงานที่ต้องใช้ความพยายามอย่างสม่ำเสมอ คนไทยอาจจะหยุดปฏิบัติการกระทำตามภาระหน้าที่ ถ้าพบว่างานนั้นไม่สนุก
คนไทยเน้นความสำคัญของค่านิยมส่วนบุคคล ทำให้เกิดลักษณะปัจเจกชนนิยม คนไทยจึงแทบจะไม่ผุกพันกับเป้าหมายของสังคม เกิดความเฉย ซึ่งขัดแย้งอย่างรุนแรงกับความมุ่งมั่นที่จะทำงานหนัก อันเป็นลักษณะที่จำเป็นสำหรับสังคมที่จะเข้าไปสู่ภาวะทันสมัยทางอุตสาหกรรม
นอกจากนั้น คนไทยยังให้คุณค่าค่อนข้างสูงกับคนที่รู้จักฉวยโอกาส แต่ไม่ค่อยให้คุณค่ากับคนที่สร้างโอกาสด้วยความยากลำบาก
คนไทยชอบฟังคำสั่งมากกว่าริเริ่มเอง  ถ้าไม่สั่งก็ไม่ทำ ชอบปะทะคารม แต่ไม่ชอบทำงาน ไม่ค่อยรับผิดชอบในการทำงานแต่ชอบเงิน  ชอบลงทุนในกิจกรรมที่สนุกมากกว่ากิจกรรมที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ
คนไทยไม่นิยมขวนขวายต่อสู้ดิ้นรนทำงานหนักเพื่อความสำเร็จในชีวิต ชอบทำงานเบาๆที่ไม่ต้องรับผิดชอบมาก ชอบมีฐานะที่ขึ้นอยู่กับผู้อื่น มีเงินเดือนกิน ไม่นิยมการทำงานที่ใช้มือ ใช้แรงงาน ไม่นิยมเป็นพ่อค้า  ถ้าจะดำเนินงานธุรกิจจะยึดความโก้เก๋ในการดำเนินงานมากกว่าเนื้อหาของงาน
ส่วนคนที่จบจากต่างประเทศต้องการที่จะเป็นหัวหน้างาน ไม่พยายามที่จะร่วมกันทำงานเพื่อเสริมสร้างสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น แต่พยายามใช้ประโยชน์จากการที่เคยอยู่ต่างประเทศเพื่อหาตำแหน่งที่ตนพอใจ
คนไทยเลือกงานมาก ไม่ชอบทำงานที่ห่างไกลความเจริญหรือห่างครอบครัว ต้องการทำงานที่จะเป็นเจ้าใหญ่นายโต ไม่ชอบเสี่ยง  หนักไม่เอาเบาไม่สู้ นิยมทำกิจการต่างให้พอเสร็จ ไม่มุ่งความเยี่ยมยิ่ง นิยมอภัยความบกพร่องกันง่ายๆ

อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยในระยะที่ผ่านมาพบว่า นักเรียนไทยนิยมเรียนบริหารธุรกิจในอเมริกามากขึ้น  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะหนีจากการเป็นข้าราชการ เตรียมทำงานเพื่อเงินมากขึ้น
    

ค่านิยมไทยกับ Performance Management

                                                                                                                               
ค่านิยมไทยกับ Performance Management คนไทยเราภาคภูมิใจกับความเป็นชาติ ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาหลายร้อยปี มีค่านิยมและวัฒนธรรมอันดีงามที่สืบทอดกันมาจากคนแต่ละรุ่นมาถึงปัจจุบัน ชั่วระยะเวลาประมาณ 700-800 ปี นับแต่การก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย วัฒนธรรมและค่านิยมหลายประการได้ถูกลบเลือนจางหายไป แต่ก็มีค่านิยมอีกหลายประการ ที่ยังคงอยู่และแสดงถึงความเป็นคนไทยของเรา ที่มีทั้งข้อดีและข้อน่าเป็นห่วง หากนำมาใช้ไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์ ซึ่งผู้เขียนจะได้หยิบยกค่านิยมบางประการของไทย ที่มีผลกระทบต่อการบริหารงานเพื่อให้ได้ผลงาน
 
Performance Management คืออะไร? 
คุยกันในฉบับย่อ PM คือแนวความคิดด้านการบริหารคนเพื่อให้ได้ผลงานมากที่สุด ซึ่งผลงานนั้นวัดโดยตัวชี้วัดต่างๆ เช่น จำนวนชิ้นงาน คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ความพึงพอใจของลูกค้า เวลา และต้นทุนในการดำเนินงาน รายได้ ผลกำไร ราคาหุ้นต่อหน่วย ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้ การวัดผลงานในปัจจุบันจะวัดเพียงแค่ “ชิ้นงาน” ไม่ได้ จำเป็นต้องมีเกณฑ์ในการประเมินหลายปัจจัยดังที่กล่าวมาแล้ว 
สำหรับการที่จะ บริหารคนให้ทำงานได้ผลงานตามที่ต้องการ ก็ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการเช่นกัน โดยเมื่อพิจารณาจากมุมมองของ HR แล้ว การทำ PM จะต้องเริ่มจากการกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายของ HR ที่สนับสนุนและสอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายธุรกิจขององค์กร จากนั้นก็ต้องมีการกำหนดมาตรฐานในการคัดสรร พัฒนา ประเมินผล และให้รางวัลบุคลากรภายใต้กรอบกลยุทธ์ขององค์กร ทั้งนี้ กระบวนการขั้นตอนการทำงานของ HR ทั้งหมด ต้องสะท้อนถึงค่านิยมที่เป็นแบรนด์นายจ้างขององค์กรที่เป็นเอกภาพกับแบ รนด์ขององค์กรและสินค้าอย่างสนิทแนบแน่น 

     มาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านก็คงจะพอมองภาพออกแล้วว่าการทำ PM นั้น มีหลักการอย่างไร โดยในอันดับต่อไปจะนำเสนอว่าการทำ PM นั้น มีรากฐานอยู่บนค่านิยมอะไรบ้าง? 

ค่า นิยมพื้นฐานของการทำ PM 
ชัดเจนแน่นอนว่า การทำ PM หากจะให้ได้ผลสัมฤทธิดังความมุ่งหมาย ผู้ที่เกี่ยวข้องคือ ผู้บริหารและ HR ที่มีบทบาท ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมในการกำหนดนโยบายการทำงานโดยภาพรวม การคัดเลือกพนักงาน การพัฒนาคน ประเมินผลงาน และพิจารณารางวัลผลตอบแทน จะต้องเป็นผู้ที่มีค่านิยมดังต่อไปนี้
     1. มุ่งเน้นผลงาน (Result–Oriented)
     2. บริสุทธิ์ ยุติธรรม (Justice)
     3. นิยมความโปร่ง ใส (Transparency)
     4. มีความเป็น ประชาธิปไตย (Democracy) คือ เชื่อในการมีสิทธิที่เท่าเทียมกันของพนักงานทุกคน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง นอกจากนี้ การเป็นประชาธิปไตยยังหมายความถึง การมีใจเปิดกว้าง รับฟังความเห็นของทุกฝ่าย เปิดใจยังไม่พอ ต้องเปิดโอกาสให้บุคลากรมีสิทธิแสดงความคิดเห็นด้วย
     ค่านิยม 4 ประการหลักนี้ เมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้งอาจเป็นมากกว่าค่านิยมก็เป็นได้ ผู้เขียนมองว่ามันคือ คุณธรรมประจำใจที่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนคือ ผู้บริหาร HR และพนักงานต้องมีกันทุกคน เพื่อให้การทำ PM เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่เล่นพรรคเล่นพวกเห็นแก่หน้าใครทั้งสิ้น 

ค่า นิยมหลักของคนไทย 
เวลาชาวต่างชาติ มาเที่ยวเมืองไทย ก็มักติดใจในอัธยาศัยใจคอของคนไทยที่มีความโอบอ้อมอารี ยิ้มแย้มแจ่มใส รู้จักเกรงอกเกรงใจ ให้เกียรติผู้อาวุโส ทั้งนี้ ค่านิยมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นค่านิยมหลักของคนไทยมีดังนี้ คือ
     1. การเคารพผู้ อาวุโส
     2. การเกรงใจ
     3. การรู้จักตอบ แทนบุญคุณ
     4. การมีน้ำใจ
     5. การรักษาหน้า ไม่เผชิญหน้ายามมีข้อขัดแย้ง
 
ยังมีค่านิยม อื่นๆ อีกหลายประการ แต่ขอนำมาพูดคุยกันเฉพาะ 5 ประการนี้ ที่มีผลกระทบต่อการนำแนวคิด PM ไปปฏิบัติ 
 
ค่า นิยม คือ ดาบสองคม 
เรื่องของความ เชื่อและค่านิยมเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการนำมาใช้ เป็นเหมือนดาบสองคมที่ถ้าใช้ให้ถูกกับสถานการณ์ก็จะเกิดผลดี แต่ถ้านำมาใช้ไม่ถูกก็เกิดโทษมหันต์ จากประสบการณ์ทำงานส่วนตัวและจากการทำวิจัยสำรวจความคิดเห็นและประสบการณ์ ของคนทำงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้เขียนจะวิเคราะห์ให้เห็นว่าค่านิยมของไทย ที่ถูกนำมาใช้ในองค์กรในทางที่ผิด มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการบริหารงานลดลงอย่างไร และสร้างปัญหาอะไรบ้าง 
 การให้เกียรติ ผู้อาวุโส การเคารพนบนอบ และแสดงความสุภาพอ่อนน้อมต่อผู้อาวุโสกว่า โดยวัยวุฒิและตำแหน่งหน้าที่การงาน เป็นการแสดงออกที่เหมาะสมงดงามและเป็นค่านิยมที่ควรรักษา แต่มีข้อแม้ว่า ผู้อาวุโสนั้นต้องเป็นผู้มีคุณธรรมสมควรต่อการที่เราจะเคารพ 
แต่ในสังคมนั้น ย่อมมีทั้งคนดีและไม่ดี มีผู้ใหญ่ที่ทำตัวไม่เหมาะสมใช้ความเป็นผู้มีอาวุโสกดดัน บีบบังคับ หรือขอร้องแกมบังคับ ทำให้องค์กรไม่สามารถคัดเลือก พัฒนา ประเมินผล และให้รางวัลบุคลากรตามความเป็นจริง แต่ต้องเลือก หรือสนับสนุนบุคลากรเพียงเพราะเขาผู้นั้นมีวัยแก่กว่า หรือบุคลากรคนนั้นมีผู้อาวุโสฝากมา ด้วยความเกรงในอาวุโสและด้วยความเกรงใจที่ผิดกาละและกรณี ทำให้ผู้บริหารและ HR ต้องทำงานโดยยึดความเกรงใจแทนที่จะยึดผลงานเป็นหลัก 
ต่อไปก็คือ เรื่องของความมีน้ำใจซึ่งนำมาใช้ไม่ถูกต้อง แต่คนไทยในองค์กรหลายคนก็อ้างเรื่องของการตอบแทนน้ำใจ การทดแทนบุญคุณเป็นเหตุผลในการส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรที่ไม่มีความสามารถ ไม่มีผลงานแต่เป็นคนที่มีบุญคุณเคยช่วยเหลือตนในอดีต ดังนั้น เพื่อเป็นการแสดงน้ำใจจึงตอบแทนน้ำใจกลับด้วยการเลื่อนขั้นตำแหน่งให้ หรือส่งไปดูงานต่างประเทศ แบบนี้ก็มีให้เห็นคาตากันอยู่บ่อยๆ
การจะทำ PM ให้ได้ผลต้องมีการประเมินผลงานให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) อย่างตรงไปตรงมา ดีก็ว่าดี ไม่ดีก็ต้องว่าไปตามเนื้อผ้า แต่สังคมไทยนั้น เรื่องของ “หน้า” เป็นเรื่องสำคัญ แต่บางทีก็สำคัญเกินไปทำให้หลายคนรับคำวิจารณ์ในทางลบไม่ได้เลย ซึ่งในการประเมินผลงานนั้นในบางครั้งก็ย่อมมีคำวิจารณ์ในทางลบบ้าง ผู้รับคำวิจารณ์ต้องรู้จักน้อมรับว่ามันเป็นเรื่องของผลงาน ไม่ใช่ถูกกลั่นแกล้งโดยเรื่องส่วนตัว ดังนั้น เมื่อมีคนหลายคนถือเรื่อง “หน้า” ถือเรื่อง “ความเกรงใจ” เหนือความถูกต้องจึงมีผลทำให้การประเมินผลงานถูกบิดเบือนได้ ทำให้คนมีผลงานจริงๆ หมดกำลังใจที่จะสร้างผลงานต่อไป
ที่เล่ามาทั้ง หมดนี้ เชื่อเหลือเกินว่าผู้อ่านแทบทุกท่านคงได้เคยพบเคยเจอหรือกำลังพบเจออยู่ขณะ นี้ คำถามต่อไปคือ “แล้วมันจะเป็นแบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน?” 

สังคม ไทยกำลังเริ่มเปลี่ยนแปลง ค่านิยมก็เปลี่ยนแปลง 

ขณะที่คนรุ่น เก่า รุ่น Baby Boomers กำลังทยอยเกษียณออกไป ค่านิยมเรื่องระบบอาวุโส ความเกรงใจ การตอบแทนบุญคุณ การรักษาหน้า การมีน้ำใจ ก็ค่อยๆ จืดจางลงไป ดังจะได้เห็นได้ฟังคนอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไปบ่นว่า เด็กเดี๋ยวนี้มักไม่ค่อยมีความเคารพนบนอบเกรงใจผู้ใหญ่ โต้เถียงซักถามผู้ใหญ่แบบไม่ไว้หน้า ฯลฯ ดังนั้น จึงมีแนวโน้มว่าในองค์กรนั้นเรื่องของการใช้ระบบอาวุโส การใช้เส้นสายก็อาจจะลดน้อยลงไปบ้าง นอกจากนี้ ผู้ใหญ่ก็ต้องเปิดใจ เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า การนำค่านิยมไทยมาใช้ในทางที่ไม่สมควรก็น่าจะน้อยลง และยิ่งถ้ามีระบบวัดผลงานที่เป็นมาตรฐานและมีความละเอียดมากขึ้น การจะบิดเบือนผลการประเมินก็ทำได้ยากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การที่ค่านิยมของเราเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ส่งเสริมผลงานมากกว่าอาวุโส การส่งเสริมมีความโปร่งใส ความเท่าเทียมกันและความยุติธรรมมากขึ้นนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับการทำ PM แต่ก็มีข้อสังเกตอยู่เหมือนกันว่า เมื่อคนรุ่นใหม่เน้นเรื่องความเสมอภาคทัดเทียมกันและมองเรื่องผลงานสำคัญ กว่าความอาวุโส ในบางครั้งก็ทำให้พวกเขาอาจจะมองข้ามมารยาทที่น่ารักๆ ของไทยไป กลายเป็นคนก้าวร้าวแข็งกระด้างโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นจึงต้องสร้างสมดุลในเรื่องนี้ให้ดี เพื่อที่ค่านิยมของไทยที่มีคุณค่าและเป็นปัจจัยที่สร้างความกลมเกลียวใน สังคม จะได้คงอยู่ต่อไปอย่างเหมาะสม 

ค่านิยมที่ไม่ดีในการทำงาน
           พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หรือค่านิยมที่ไม่ดีในการทำงานคือภัยร้ายต่อการเจริญก้าวหน้าขององค์กร หากองค์กรใดที่บุคลากรภายในส่วนใหญ่ประพฤติปฏิบัติกันเป็นประจำ แล้วไม่ดำเนินการแก้ไขโดยการสร้างค่านิยมใหม่ที่ดีเพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมภายในองค์กร อาจจะส่งผลให้องค์กรนั้นประสบปัญหาเรื่องการแข่งขันได้ เช่น บุคลากรส่วนใหญ่จะไม่กล้าที่จะคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ซึ่งความคิดเล็กๆ อาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ หรือบรรยากาศการทำงานจะเป็นลักษณะการแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายสูงมีแนวโน้มที่เกิดความขัดแย้งอยู่ตลอด  ส่งผลให้บุคลกรที่มีความรู้ ความสามารถ ความมุ่งมั่นสูงอยู่ทำงานได้ไม่นานก็เกิดการลาออกไป สำหรับตัวอย่างค่านิยมที่ไม่ดีในการทำงานขององค์กรชั้นนำแห่งหนึ่งที่ใช้รณรงค์อยู่ภายในและมีการเปิดเผย คือหลัก 6B (Ble – Bee – Bai – Boa – Block – Blame)  มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
-  Ble – “เบิ้ล” : แบบดูถูกกัน ทับถมกัน สบประมาทกัน คนอื่นแย่กว่า เป็นต้น
-  Bee – “บี้” : กัน กดดัน เร่งรัด จี้เอา ทำให้คนเครียด สับสน รนราน
-  Bai – “ใบ้” : เงียบไว้ อมภูมิ แกล้งโง่ แกล้งเงียบ (กลัวงานเข้า ไม่เอางาน) ไม่ตัดสินใจ ลอยไปเรื่อยๆ
-  Boa – “โบ้ย” : โยนไปให้คนอื่น โยนความผิด โยนงาน โทษคนอื่น
-  Block – “บล็อค” : กีดกันความคิดคนอื่น ทำลายจินตนาการ กลัวไปหมด ห้ามไปทุกเรื่อง ไม่กล้าเสี่ยง
-  Blame – “เบลม” : ตำหนิ ต่อว่า ดับกำลังใจ ด่วนพิพากษาคนอื่น โทษคนอื่น ไม่ดูให้จบกระบวนการ 
 
-------------------------------------------------------------------------------------------------
สาระคิด
ค่านิยมแบบปัจเจกชนนิยมผสมกับค่านิยมเล็งผลปฏิบัติ มีส่วนทำให้คนไทยเปลี่ยนงาน จนกว่าจะได้งานที่ทำง่ายและมีรายได้ดี ถ้างานนั้นหนัก คนไทยจะกลับไปทำงานที่ง่าย แม้รายได้จะน้อยกว่า  
ระหว่างงานรายได้ดีแต่หนักกับงานที่มีรายได้ต่ำแต่เป็นงานที่ง่าย คนไทยจะเลือกทำงานหลัง



ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ
เว็บไซต์ http://www.bejame.com/article/2824
เว็บไซต์ https://www.prosofthcm.com/Article/Detail/16851
เว็บไซต์ http://www.jobjob.co.th/
ไพศาล  ไกรสิทธิ์ วัฒนธรรมการทำงานของคนไทย ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ