วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
องค์ความรู้จากการฟังธรรม โครงการพัฒนาจิตใจและสร้างความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจ ตอนที่ 3
องค์ความรู้จากการฟังธรรม วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
โครงการพัฒนาจิตใจและสร้างความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจ สำนักเทศกิจ
พระธรรมเทศนาเรื่อง : จิตตปริโยทปนกถา ว่าด้วยการทำจิตให้ผ่องใส
โดยศาสตราจารย์ ดร. พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
โครงการพัฒนาจิตใจและสร้างความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจ สำนักเทศกิจ
พระธรรมเทศนาเรื่อง : จิตตปริโยทปนกถา ว่าด้วยการทำจิตให้ผ่องใส
โดยศาสตราจารย์ ดร. พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
โอวาทปาติโมกข์ คือ ธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงในวันมาฆบูชา ประกอบด้วย
การไม่ทำชั่วทั้งปวง เช่น การรักษาศีล
การทำดีให้ถึงพร้อม เช่น การทำทาน การช่วยเหลือประชาชน จิตอาสา
การทำจิตให้ผ่องใส เช่น การสวดมนต์ภาวนา ปฏิบัติกรรมฐาน
พระพุทธศาสนาสอนให้ฝึกจิต จิตที่ไม่ผ่องใสแม้จะสวดมนต์ก็มีความทุกข์ พระพุทธเจ้าบอกวิธีการทำจิตให้ผ่องใส
ปริโยทเปยยฺ อตฺตานํ จิตฺตกเลเสหิ ปณฺฑิโต แปลว่า บัณฑิตผู้มีปัญญาควรทำจิต ทำตน ชำระตนให้ผ่องใส จากกิเลสเครื่องเศร้าหมองของจิต กล่าวคือ
ยกตัวอย่างเช่น ความรักเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่ง ทำให้จิตผ่องใส เช่น ครูรักและเอ็นดูศิษย์ ไม่ทำร้ายศิษย์ ขณะสอนก็มีความสุข เพราะจิตผ่องใส ไม่มีความเกลียดชัง หรือ การศรัทธาในตัวผู้เทศน์ จึงมาฟังธรรม ก็จะได้ประโยชน์ เพราะจิตผ่องใส
การทำจิตให้ผ่องใส มี 2 วิธี
1. ทำให้ตกตะกอน คือ อย่าไปดู อย่าไปฟัง อย่าไปทำ ในสิ่งที่ไม่สมควร เพราะจะทำจิตฟุ้งซ่าน
2. ให้หยุดที่ผัสสะ (ผัสสะ คือ การกระทบ)
องค์ประกอบของผัสสะ
1. ภาพหรือเสียง มากระตุ้น
2. ตาหรือหู เปิดรับ
3. จิตเจตนา ใส่ใจในสิ่งนั้น
เมื่อเกิดผัสสะ มักเกิดเวทนาตามมา คือ
สุขเวทนา เช่น ทานอาหารอร่อย ► ความสุข ► อยากทานอีก ► ความโลภ
ทุกขเวทนา เช่น ทานอาหารไม่อร่อย ► ความทุกข์ ► ไม่อยากทานอีก ► ความโกรธ
อุเบกขาเวทนา เช่น ทานอาหารไม่รู้รส ► รู้สึกเฉย ๆ ► ความหลง
สิ่งที่แต่ละคนจำมี 2 ประเภท คือ
1. เรื่องที่เข้มข้น เช่น ไปผ่าตัดที่โรงพยาบาลแรก ใช้เวลาผ่าตัด 3 ชั่วโมง ปวดนาน 3 ชั่วโมง ครั้งต่อมาไปผ่าตัดที่โรงพยาบาลที่ 2 ใช้เวลาผ่าตัด 5 ชั่วโมง แต่ปวดน้อยกว่า ถามว่าโรงพยาบาลไหนดีกว่า เราจะบอกว่าโรงพยาบาลที่ 2 แสดงว่าเรื่องเวลาไม่สำคัญ สำคัญที่ความรู้สึก
2. ตอนจบของเรื่อง เช่น การทดลองโดยใช้ถังน้ำ 2 ถัง ถังที่ 1 อุณหภูมิ 14 องศาเซลเซียส ให้ผู้ทดลองจุ่มมือลงไป 60 วินาที แล้วเอามือขึ้น ถังที่ 2 อุณหภูมิ 14 องศาเซลเซียส ให้ผู้ทดลองจุ่มมือลงไป 60 วินาที เมื่อครบ 60 วินาที จึงปรับอุณหภูมิเป็น 15 องศาเซลเซียส ให้ผู้ทดลองจุ่มมือต่ออีก 30 วินาที แล้วให้เอามือขึ้น เมื่อสอบถามผู้ทดลอง ปรากฏว่าชอบถังที่ 2 มากกว่า
ดังนั้น วิธีการให้หยุดที่ผัสสะ คือ อย่าไปทำซ้ำ อย่าไปขยายความผัสสะ ให้ปล่อยไปตามธรรมชาติ เพราะผัสสะเกิดแล้วดับทุก 3 วินาที อย่าไปจำแต่เรื่องไม่ดี ให้จำแต่เรื่องดี ๆ ต้องเลือกจำ ต้องคิดให้รอบด้าน
ขอบคุณรูปภาพจาก : www.onbnews.today