องค์ความรู้จากการฟังธรรม โครงการพัฒนาจิตใจและสร้างความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจ ตอนที่ 1

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
image
องค์ความรู้จากการฟังธรรม วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๓
โครงการพัฒนาจิตใจและสร้างความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจ สำนักเทศกิจ
พระธรรมเทศนาเรื่อง : อโมคชีวิตกถา ว่าด้วยชีวิตที่ไม่ไร้ประโยชน์

โดยศาสตราจารย์ ดร. พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

 
       อโมฆํ ทิวสํ กยิรา แปลว่า ไม่ควรทำวันเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ ไม่ว่าน้อยหรือมาก ประโยชน์ แบ่งได้ ๒ ประการ
       ๑. อัตตหิตสมบัติ คือ ความพร้อมแห่งประโยชน์ตน เช่น นักเรียนเรียนหนังสือ มีประโยชน์ต่อตนเอง เป็นการใช้เวลาให้มีค่า
       ๒. ปรหิตปฏิบัติ คือ การทำประโยชน์ให้ผู้อื่น เช่น ครูมีหน้าที่สอนนักเรียน พ่อแม่มีหน้าที่ดูแลลูกหลาน ลูกมีหน้าที่เชื่อฟังพ่อแม่ ครูอาจารย์


พระรัตนปัญญาเถระ สรุปวิธีทำประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ไว้ ๔ คำ
       ๑. จะ ย่อมาจาก จะชะ แปลว่า หลีกเลี่ยงคนพาล คนไม่ดี คนขี้โกง
       ๒. ภะ ย่อมาจาก ภะชะ แปลว่า สังสรรค์บัณฑิต คบหาบัณฑิต คบคนดี เพื่อนดี ครูดี
       ๓. กะ ย่อมาจาก กะระ แปลว่า ทำดีเป็นนิจ คือ คิดดี พูดดี ทำดี
       ๔. สะ ย่อมาจาก สร นิจฺจมนิจฺจตํ แปลว่า นึกถึงความเปลี่ยนแปลง นึกถึงความไม่เที่ยง

ตัวอย่างปัญหา การทำดีเป็นหน้าที่ แต่ขัดกับเวลาประโยชน์ส่วนตน เช่น พ่อแม่ไปทำงานจนไม่มีเวลาอยูjกับลูก

วิธีแก้ไข ใช้หลักทางสายกลาง แบ่งเวลาให้เหมาะสมกับงานและให้เวลากับลูก ความสุขของชีวิต คือ การแบ่งเวลาให้พอดีระหว่างประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน

ฉะนั้น การใช้ชีวิตที่มีคุณค่า ไม่ไร้ประโยชน์ ควรปฏิบัติตามหลักทางสายกลาง คือ การแบ่งเวลาทำหน้าที่ของตนให้ดี เช่น การเรียนหนังสือ การทำงาน การทำประโยชน์ให้ผู้อื่น เช่น การดูแลพ่อแม่ให้มีความสุข

ดังพระบาลีเบื้องต้นว่า อโมฆํ ทิวสํ กยิรา
แปลว่า อย่าทำเวลาให้ล่วงไปเปล่า โดยปราศจากประโยชน์ ไม่ว่ามากหรือน้อยก็ตาม























ขอบคุณรูปภาพจาก : www.onbnews.today