หลักฐานที่ใช้ประกอบในการยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคารมีอะไรบ้าง
หลักฐานที่ใช้ในการยื่นขออนุญาตฯ มี
- แบบคำขออนุญาตก่อสร้างฯ แบบ ข. 1 หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตฯ (แบบ ข. 5) กรณีผู้ขอเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลจะต้องให้
  กรรมการผู้มีอำนาจลงนามในเอกสารและประทับตราบริษัท
- แบบแปลนอาคารที่ขออนุญาต จำนวน 5 ชุด
- สำเนาหนังสือรับรองของบริษัท หรือนิติบุคคล แสดงกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและวัตถุประสงค์ ทุกหน้า มีอายุไม่เกิน 6 เดือน
  ให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาพร้อมประทับตราบริษัท
- สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดินเท่าตัวจริง (ต้นฉบับ) ทุกหน้า ห้ามย่อหรือขยาย เจ้าของที่ดินต้องลงนาม รับรองสำเนาทุกหน้า
  กรณีเจ้าของที่ดินเป็นบริษัทหรือนิติบุคคล ต้องให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม รับรองสำเนาทุกหน้าพร้อมประทับตราบริษัท
- หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างในที่ต้อง กรณีผู้ขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของที่ดิน
- สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต ผู้รับมอบอำนาจ ผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล และเจ้าของที่ดิน
  พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- หนังสือรับรองพร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม แล้วแต่กรณี
- รายการคำนวณโครงสร้าง
- หนังสือยินยอมของผู้ควบคุมงาน
ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลง รื้อถอน มีอายุการใช้งานเท่าใด
ภายในระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาต
อาคารอยู่อาศัยรวม ลักษณะใดที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
อาคารที่มีจำนวนห้องพัก ตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป หรือมีพื้นที่ ตั้งแต่ 4,000 ตารางเมตร ขึ้นไป
การขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนอาคาร (แบบ ข.1) ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการกี่วัน
ภายในระยะเวลา 45 วัน
เรื่องระยะร่นของอาคาร
พื้นที่อาคารสูงไม่เกิน 3 ชั้น หรือพื้นที่ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร อาคารพักอาศัย อาคารที่ก่อสร้าง  หรือดัดแปลงอาคารใกล้ถนนสาธารณะ ที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ร่นแนวอาคารกว่าจากกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 3 เมตร 
อาคารสูงไม่เกิน 15 เมตร ต้องมีที่ว่างโดยรวมเท่าไหร่
อาคารสูงไม่เกิน 15 เมตร ต้องมีที่ว่างโดยรวมอาคารไม่น้อยกว่า 1 เมตร ยกเว้นบ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ ไม่เกิน 300 ตารางเมตร
อาคารแต่ละหลัง ต้องมีที่ว่างตามกำหนดเท่าไร
อาคารอยู่อาศัยต้องมีพื้นที่ว่างไม่น้อยกว่า 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ดิน
ถ้าต้องการขออนุญาตตัดคันหินทางเท้า ใช้ที่สาธารณะเชื่อมทาง เชื่อมท่อระบายน้ำ ต้องทำอย่างไรบ้าง
การขออนุญาตตัดคันหินทางเท้า ใช้ที่สาธารณะ เชื่อมทาง เชื่อมท่อระบายน้ำ มีขั้นตอนดังนี้

หลักฐาน
 1. ผังบริเวณ แบบแปลน และรายละเอียดการขออนุญาต จำนวน 3 ชุด

 2. แบบคำขออนุญาตตัดคันหินทางเท้า ลดระดับคันหินทางเท้า เชื่อมท่อระบายน้ำและทางเชื่อมใน ที่สาธารณะ

 3. สำเนาหนังสือรับรองบริษัทหรือนิติบุคคลแสดงกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและวัตถุประสงค์ทุกหน้าที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน และให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาพร้อมประทับตราบริษัท

 4. สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดินเท่ากับต้นฉบับทุกหน้า (ห้ามย่อหรือขยายส่วน) และเจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า (กรณีเจ้าของที่ดินเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลจะต้องให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามในเอกสารและประทับตราบริษัทในเอกสาร)

  5. หนังสือแสดงความยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารในที่ดิน (กรณีผู้ขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของที่ดิน)

  6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต ผู้รับมอบอำนาจ ผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลและเจ้าของที่ดิน พร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า

 7. สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคารจากกรุงเทพมหานคร (แบบ อ.1) หรือแผนผังการจัดสรรที่ดิน ที่ได้รับอนุญาตหรือเป็นมติคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน 

ค่าธรรมเนียม 
- ตัดคันหินคิดตามความยาว เมตรละ 200 บาท และตัดทางเท้า ตารางเมตรละ 200 บาท 
- ตั้งวางของในที่สาธารณะ ตารางเมตรละ 50 บาท/เดือน 
- ค่าธรรมเนียมการอนุญาต เรื่องละ 20 บาท
Page 1 of 1