การเก็บรักษาครุภัณฑ์ ใครต้องเป็นคนเก็บรักษา เดิมกำหนดไว้เป็นชุมชน ประชาชน หรือหน่วยงานที่เสนอโครงการมา ในกรณีภาคประชาชนรวมกลุ่มกันมา 5 คนขึ้นไปมาเสนอโครงการ หากกลุ่มดังกล่าวสลายไปครุภัณฑ์จะต้องไปอยู่ที่ไหน และสามารถตามได้อย่างไร

           ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครว่าด้วยการดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน พ.ศ. 2562 ประกาศ 

ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ส่วนที่ 2 การเสนอแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรม ข้อ 8 แผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมใด มีความจำเป็น

ต้องจัดหาพัสดุที่เป็นครุภัณฑ์ให้คณะกรรมการกองทุน หรือคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขตหรือคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัด

บริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกรุงเทพมหานครพิจารณาสนับสนุนได้ตามความจำเป็นยกเว้นแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรม

ที่องค์กรหรือกลุ่มประชาชนหรือหน่วยงานอื่นของรัฐเป็นผู้เสนอให้สนับสนุนได้ในวงเงินไม่เกินสองหมื่นบาทให้ครุภัณฑ์ที่จัดหาได้เป็นทรัพย์สินของ

หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื่นของรัฐ องค์กรหรือกลุ่มประชาชนที่ขอสนับสนุน

เรื่องครุภัณฑ์ เมื่อมีการตรวจสอบต้องสามารถแจ้งได้ว่าครุภัณฑ์ดังกล่าวอยู่ที่ไหน ควรต้องมีหลักฐานหรือไม่ว่าได้ส่งมอบครุภัณฑ์ดังกล่าวให้กับใคร เมื่อปิดโครงการควรมีการเขียนแจ้งกำหนดไว้ว่าครุภัณฑ์ดังกล่าวอยู่ที่ไหน

           ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครว่าด้วยการดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน พ.ศ. 2562 ประกาศ 

ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ส่วนที่ 2 การเสนอแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรม ข้อ 8 แผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมใด มีความจำเป็น

ต้องจัดหาพัสดุที่เป็นครุภัณฑ์ให้คณะกรรมการกองทุน หรือคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขตหรือคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัด

บริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกรุงเทพมหานครพิจารณาสนับสนุนได้ตามความจำเป็นยกเว้นแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรม

ที่องค์กรหรือกลุ่มประชาชนหรือหน่วยงานอื่นของรัฐเป็นผู้เสนอให้สนับสนุนได้ในวงเงินไม่เกินสองหมื่นบาทให้ครุภัณฑ์ที่จัดหาได้เป็นทรัพย์สินของ

หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื่นของรัฐ องค์กรหรือกลุ่มประชาชนที่ขอสนับสนุน

การใช้งบประมาณกองทุนฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ อยากสอบถามความชัดเจนว่าสามารถใช้ได้ถึงเมื่อใด

               เห็นว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครว่าด้วยการดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๒๖ ได้กำหนดไว้ว่า “เมื่อได้รับเงินกองทุน ให้เบิกจ่ายตามวัตถุประสงค์ ของกองทุน ภายใต้แผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติเท่านั้น ทั้งนี้ การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน ของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ให้เป็นไปตามกฎหมายที่หน่วยงานนั้น ๆ ถือปฏิบัติ”ซึ่งระยะเวลาดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรดังนั้นผู้ได้รับการสนับสนุนจะสามารถใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้ถึงเมื่อใดนั้น ย่อมเป็นไปตามระยะเวลาดำเนินการและระยะเวลาที่กำหนดในปฏิทินการดำเนินงานที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกัน-สุขภาพกรุงเทพมหานครหรือคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต แล้วแต่กรณี ส่วนผู้ได้รับการสนับสนุนจะใช้จ่ายเงินดังกล่าวข้ามปีงบประมาณได้หรือไม่นั้น ย่อมเป็นตามกฎหมายที่หน่วยงานนั้น ๆ ถือปฏิบัติ ซึ่งในเรื่องนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ตอบข้อหารือไว้แล้ว รายละเอียดปรากฏตามหนังสือ ที่ สปสช. ๓.๖๕/๔๑๓     ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๑

อยากให้ทำเป็น Timeline เรื่องกรอบระยะเวลาการดำเนินงานของสำนักอนามัยให้แก่สำนักงานเขตให้ชัดเจน เช่น เมื่อสำนักงานเขตส่งเอกสารมาขอเบิกเงิน อยากทราบระยะเวลาขั้นตอน ในการตรวจสอบเอกสารว่าใช้เวลาประมาณกี่วัน

เห็นว่าหากเป็นกรอบระยะเวลาการดำเนินงานและขั้นตอนในการตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับการรับเงินการเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน การจัดทำบัญชี และการทำรายงานการรับ การจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนในเอกสารวิธีปฏิบัติงาน WORK INSTRUCTION (WI) พร้อมทั้งได้แจ้งและส่งเอกสารดังกล่าวให้สำนักงานเขตเพื่อทราบและถือปฏิบัติแล้ว ตามหนังสือด่วนที่สุดที่ กท ๐๗๐๒ (สกส.กทม.)/๓๑๘ ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๔

หากมีการอนุมัติโครงการไปแล้ว เมื่อต้องจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์หรือครุภัณฑ์ หากผู้เสนอโครงการไปซื้อของแล้วมีราคาเพิ่มขึ้น สามารถขอเงินเพิ่มได้หรือไม่ อย่างไร

      เห็นว่า ข้อ ๕ ของเอกสารหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้กรุงเทพมหานครดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ที่กำหนดว่า “กรณีองค์กรหรือกลุ่มประชาชน ได้รับเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ให้จ่ายเงินตามรายการค่าใช้จ่ายและอัตราที่กำหนดไว้ในแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุน หรือคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต หรือคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง-กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี...” และระเบียบคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๒๖ ที่กำหนดว่า “เมื่อได้รับเงินกองทุนให้เบิกจ่ายตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ภายใต้แผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติเท่านั้น ทั้งนี้ การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน ของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ให้เป็นไปตามกฎหมายที่หน่วยงานนั้น ๆ ถือปฏิบัติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดให้ผู้เสนอแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมต้องนำเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ และตามรายการค่าใช้จ่ายและอัตราที่กำหนดไว้ในแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร หรือคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต หรือคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี เท่านั้น ซึ่งรวมถึงต้องใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติดังกล่าวด้วย ในกรณีที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมข้างต้นไม่เพียงพอนั้น ผู้เสนอแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมสามารถเสนอแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสม ซึ่งในเรื่องนี้ สำนักงาน-หลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ตอบข้อหารือไว้แล้ว รายละเอียดปรากฏตามหนังสือ ที่ สปสช. ๓.๖๕/๓๓๕๑ ลงวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๐

การปิดบัญชีของผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินกองทุนในโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้น ไม่สามารถปิดบัญชีได้เนื่องจากมีผู้เสียชีวิต

เห็นว่า การปิดบัญชีของผู้ได้รับสนับสนุนเงินกองทุนเมื่อได้ดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมแล้วเสร็จหรือเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการแล้ว ให้ถือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด โดยสามารถสอบถามรายละเอียดได้จากสาขาที่เปิดบัญชี แต่ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ได้รับสนับสนุนที่ได้รับผลกระทบกรณีดังกล่าว สำนักอนามัยจะขอทำหนังสือหารือกับธนาคารกรุงไทยอีกทางหนึ่ง หากได้ผลเป็นประการใดจะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป

(ด้านการดำเนินโครงการ) โครงการผ้าอนามัยเพื่อแจกนักเรียนสามารถขอรับ การสนับสนุนเงินกองทุนฯได้หรือไม่?

ต้องดูที่โครงการว่ามีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร การแจกผ้าอนามัย โดยตรงเป็นการให้สวัสดิการ ซึ่งไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของ กองทุนฯที่มุ่งเน้นการการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟู สมรรถภาพ และรักษาพยาบาลปฐมภูมิเชิงรุก 

(ด้านการดำเนินโครงการ) อสส. เขียนโครงการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยมีกิจกรรมสำรวจลูกน้ำยุงลาย สามารถทำได้หรือไม่ ถือว่าซ้ำซ้อนกับการทำงานประจำหรือไม่?

การดำเนินกิจกรรมสำรวจลูกน้ำยุงลายสามารถทำได้ ทั้งนี้ต้องไม่มีค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อนกับการสนับสนุนของสำนักอนามัย ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ไม่ซ้ำซ้อนกับสำนักอนามัย เช่น ไฟฉาย กระชอนตักลูกน้ำยุงลาย 

(ด้านการดำเนินโครงการ) ศูนย์บริการสาธารณสุข ทำโครงการขอสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้หรือไม่?

ศูนย์บริการสาธารณสุข สามารถขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ในกรณีที่ใช้ในกิจกรรมการให้บริการปฐมภูมิเชิงรุก ซึ่งต้องเป็นการบริการที่ถึงประชาชนโดยตรง

(ด้านการดำเนินโครงการ) หากจะเขียนโครงการที่ต่อเนื่องจากโครงการที่เคยได้รับการอนุมัติไปแล้วเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนฯสามารถทำได้หรือไม่?

สามารถทำได้ ทั้งนี้ความเหมาะสมของโครงการอยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร หรือคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต

(ด้านการดำเนินโครงการ) หน่วยงานภายในของส่วนราชการสามารถเขียนโครงการขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนฯตามประเภทโครงการ 6(2) ได้หรือไม่
  • 5กรณีหน่วยงานภายในกอง หากจะเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนฯต้องดูลำดับหรือองค์ประกอบโครงสร้างของหน่วยงานว่าหัวหน้าหน่วยงานที่มีอำนาจสูงสุดเป็นใคร ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดต้องเป็นผู้ลงนามในโครงการ เนื่องจากเมื่อโครงการได้รับการอนุมัติแล้ว เงินจะถูกโอนเข้าบัญชีหน่วยงาน หัวหน้าหน่วยงานต้องรับรู้ จึงต้องเป็นผู้ลงนามเสนอโครงการ
  • การเสนอโครงการโดยหน่วยงานย่อยขององค์กร ต้องดูวัตถุประสงค์ว่าดำเนินการเพื่อใคร
  1. หากดำเนินการเพื่อประชาชนภายในเขต ต้องลงนามโดยผู้อำนวยการสำนักงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน
  2. หากดำเนินการเพื่อบุคลากรภายในฝ่าย เช่น การสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในฝ่ายพัฒน์ฯ สามารถขอโดยกลุ่มบุคคลภายในฝ่ายพัฒน์ฯที่รวมตัวกัน 5 คนเพื่อขอรับการสนับสนุนได้
(ด้านการดำเนินโครงการ) แพทย์ของสำนักการแพทย์จัดทำโครงการคัดกรองต่อมลูกหมากในประชาชน โดยมีค่าตรวจ Lab ในราคา 300 บาท/ราย สามารถทำได้หรือไม่?
  • วัตถุประสงค์โครงการเพื่อคัดกรองต่อมลูกหมาก เป็นการป้องกันโรคมะเร็ง สามารถทำได้ แต่ต้องดูว่าการดำเนินการมีความซ้ำซ้อนกับการดำเนินการที่สำนักการแพทย์ดำเนินการหรือไม่ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสามารถเบิกจากงบ OP Schedule ได้
  • เงินกองทุนฯ สามารถเบิกได้เฉพาะกิจกรรมเชิงรุกที่ไม่ซ้ำซ้อนกับการเบิกงบ OP Schedule ดังนั้น หากต้องการขอสนับสนุนต้องแปลงโครงการเป็นลักษณะการดำเนินการเชิงรุก
(ด้านการดำเนินโครงการ) การรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก คืออะไร?

การรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก หมายถึง การจัดบริการหรือการจัดกิจกรรมสาธารณสุขนอกหน่วยที่ตั้ง ซึ่งเป็นการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเบื้องต้นในชุมชน และเป็นการบริการที่นอกเหนือจากการจัดบริการปกติของหน่วยบริการ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงบริการได้มากขึ้น เปรียบเทียบการบริการ จะเหมือนลักษณะที่กล่าวถึงในข้อ 6 ทั้งนี้ต้องมีหลักการ คือ ไม่ซ้ำซ้อน และเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น โดยผู้ขอรับการสนับสนุนในการจัดกิจกรรมดังกล่าวได้ต้องมีคุณสมบัติตามประกาศฯ ข้อ 6(1) ได้แก่ หน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข (ให้อิงตามระเบียบ)

(ด้านการดำเนินโครงการ) การจัดกิจกรรมฝึกปฏิบัติกีฬาฟุตซอล สามารถเบิกค่าวิทยากรได้หรือไม่ และสามารถเบิกได้กี่คน?
  1. การจัดกิจกรรมหากเข้าข่ายการฝึกอบรม สามารถเบิกค่าวิทยากรได้
  2. จำนวนวิทยากรที่สามารถเบิกได้ ขึ้นกับจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรม โดยอ้างอิงตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ซึ่งค่าวิทยากร ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ คือ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ รักษาพยาบาลปฐมภูมิเชิงรุก ส่ว
  3. ใหญ่โครงการที่เสนอมาเป็นการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬา หรือเพื่อการแข่งขัน ซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์กองทุนฯ ดังนั้น ต้องอธิบายให้ผู้เสนอโครงการเข้าใจ
  4. กรณีโครงการที่มีกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ และงบประมาณที่ขอเป็นจำนวนเงินที่สูง หากคณะอนุกรรมการกองทุฯเขตยังไม่เคยเห็นศักยภาพในการทำงานของผู้เสนอโครงการ ควรให้ทดลองทำในกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็กก่อน เมื่อเกิดผลสำเร็จจึงขยายผล
(ด้านการดำเนินโครงการ) การจัดทำโครงการกีฬา เพื่อให้เกิดการแข่งขันกีฬา สามารถทำได้หรือไม่?

ไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นการแข่งขันกีฬา ซึ่งไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯในด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพ รักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก

(ด้านการดำเนินโครงการ) โครงการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิค สามารถของบค่าใช้จ่ายในการตอบแทนครูสอนเต้นต่อเนื่องทุกปีได้หรือไม่?

ในระเบียบไม่ได้ระบุห้ามในการดำเนินโครงการที่ต่อเนื่อง หากต้องการขอต่อเนื่อง ผู้เสนอโครงการต้องรายงานผลโครงการเดิมเข้ามาเพื่อให้คณะอนุกรรมการพิจารณา ทั้งนี้การพิจารณาอนุมัติโครงการขึ้นกับดุลยพินิจของคณะอนุกรรมการกองทุนฯเขต อาจจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติก็ได้

(ด้านการดำเนินโครงการ) กรณีสถานบริการที่จะขอรับเงินสนับสนุนการจัดบริการเชิงรุก ต้องเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิเท่านั้นหรือไม่? หน่วยบริการอื่น เช่น โรงพยาบาลที่เป็นระดับทุติยภูมิ หรือตติยภูมิ สามารถให้การสนับสนุนได้หรือไม่?

หน่วยบริการที่สามารถจัดบริการปฐมภูมิได้ไม่ใช่มีเพียงหน่วยบริการระดับปฐมภูมิเท่านั้น สถานบริการ หรือโรงพยาบาล หรือหน่วยบริการ สามารถขอรับการสนับสนุนได้ แต่กิจกรรมที่จัดต้องเป็นการบริการแบบปฐมภูมิเชิงรุก

(ด้านการดำเนินโครงการ) กรณีหน่วยงานจัดอบรมให้นักเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร หากจัดอบรมในวันหยุดราชการ ต้องขออนุมัติบุคคลตามระเบียบการฝึกอบรมหรือไม่?
  • กรณีที่หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร ต้องขออนุมัติตามระเบียบของกรุงเทพมหานคร
  • กรณีเป็นหน่วยงานภายนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร ให้ใช้ระเบียบของหน่วยงานนั้นๆ เว้นแต่ไม่มีระเบียบให้ใช้ระเบียบของกรุงเทพมหานคร
(ด้านการเงิน การคลัง และ การเบิก จ่าย) กรณีผู้เสนอโครงการเปิดบัญชี 3 คน จะมารับเงินที่ได้รับอนุมัติ 2 คนได้หรือไม่?
  • ได้ (รับ 2 ใน 3)
(ด้านการเงิน การคลัง และ การเบิก จ่าย) กรณี หน่วยงาน หรือ สำนักงานเขต หรือภาคประชาชนดำเนินโครงการ โดยเชิญวิทยากรจากศูนย์บริการสาธารณสุขมาให้ความรู้ในเวลาราชการ สามารถขอเบิกค่าตอบแทนได้หรือไม่?

การจัดอบรมให้ความรู้ของหน่วยงาน หรือสำนักงานเขต หรือภาคประชาชน แม้จะจัดในเวลาราชการ หรือนอกเวลาราชการ สามารถเบิกค่าตอบแทนวิทยากรที่มาจากศูนย์บริการสาธารณสุขได้ตามระเบียบในอัตราที่กำหนด

(ด้านการเงิน การคลัง และ การเบิก จ่าย) เพราะเหตุใด “ประกาศ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้กรุงเทพมหานครดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร” จึงไม่ระบุค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการจัดซื้อครุภัณฑ์ให้กับหน่วยบริการ สถานบริการ หน่ว

เนื่องจากหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการจัดบริการด้านสาธารณสุขในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยตรง ดังนั้น ประกาศฯจึงไม่ได้กำหนดจำนวนวงเงินในการจัดหาครุภัณฑ์ไว้ เนื่องจากต้องการให้หน่วยงานดังกล่าวสามารถจัดบริการให้กับประชาชนได้อย่างครอบคลุม ทั้งนี้ให้เป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร หรือคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขตในการพิจารณาค่าใช้จ่ายครุภัณฑ์ที่เหมาะสมของแต่ละโครงการ

(ด้านการเงิน การคลัง และ การเบิก จ่าย) กรณีหน่วยราชการจัดอบรม จะสามารถขอยืมเงินจากใคร? หมวดใด?

หน่วยราชการสามารถยืมเงินทดรองจ่ายได้ในกรณีที่ไม่ใช่เป็นการจัดซื้อจัดจ้าง โดยยืมเงินนอกงบฯ เป็นเงินทดรองราชการ ตามระเบียบกรุงเทพมหานคร  

(ด้านกฎระเบียบทางนิติการ) กรณีคณะอนุกรรมการกองทุนฯเขต ที่มาจากคณะกรรมการชุมชน หมดวาระในการเป็นกรรมการชุมชน จะสามารถเข้าประชุมได้หรือไม่?

1.1 ผู้แทนกรรมการชุมชนหากหมดวาระลง ถือว่าหมดคุณสมบัติขององค์ประกอบคณะอนุกรรมการกองทุนฯเขตไปด้วย จึงต้องพ้นจากการเป็นคณะอนุกรรมการกองทุนฯเขต และไม่สามารถเข้าประชุมได้ 

1.2 บุคคลที่หมดวาระจากการเป็นกรรมการชุมชนลงแล้ว แม้ว่าจะถูกคัดเลือกให้เป็นกรรมการชุมชนอีกวาระ จะยังไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ จนกว่าจะได้รับการคัดเลือกให้เป็นคณะอนุกรรมการกองทุนฯเขต

(ด้านกฎระเบียบทางนิติการ) กรณีคณะกรรมการชุมชนหมดวาระ และส่งผลให้ต้องดำเนินการคัดเลือกอนุกรรมการกองทุนฯเขตในตำแหน่งดังกล่าวเพื่อทดแทน เมื่อได้รายชื่อแล้ว ต้องส่งให้สำนักอนามัยจัดทำคำสั่งแต่งตั้งใช่หรือไม่?

สำนักงานเขตสามารถดำเนินการคัดเลือก หรือสรรหาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดได้ และเมื่อได้รายชื่อแล้วให้ส่งรายชื่อเป็นเอกสารให้สำนักอนามัยจัดทำประกาศแต่งตั้งต่อไป ทั้งนี้ต้องได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเรียบร้อยก่อน บุคคลนั้นจึงจะสามารถทำหน้าที่ได้

(ด้านกฎระเบียบทางนิติการ) ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตสามารถลงนามเชิญประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯเขต แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตได้หรือไม่

ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขต สามารถลงนามแทนได้ในกรณีรักษาราชการแทน หรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเขต

(ด้านกฎระเบียบทางนิติการ) กรณีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) ไม่มาประชุม การประชุมถือว่าครบองค์ประชุมหรือไม่?

การประชุมหากมีจำนวนผู้เข้าประชุมเกินกึ่งหนึ่งของจำนวน คณะอนุกรรมการกองทุนฯเขต สามารถจัดประชุมได้ แม้ สก. ไม่มาประชุม 

(ด้านกฎระเบียบทางนิติการ) กรณีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) ไม่มาประชุม ทำให้องค์ประกอบของคณะอนุกรรมการกองทุนฯเขตไม่ครบ 5 กลุ่ม การประชุมจะสามารถลงมติได้หรือไม่?

ให้พิจารณาจากจำนวนองค์ประชุม หากเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนคณะอนุกรรมการกองทุนฯเขต ก็สามารถประชุมและลงมติได้ ทั้งนี้เนื่องจาก สก.เป็นคณะอนุกรรมการกองทุนฯเขตโดยตำแหน่ง ซึ่งมีเพียง 1 คน และถูกเลือกมาโดยประชาชน จึงไม่สามารถมอบบุคคลอื่นแทนได้ 

(ด้านกฎระเบียบทางนิติการ) กรณีหัวหน้าฝ่ายไม่มาประชุม สามารถมอบผู้มาประชุมแทนได้หรือไม่ และหัวหน้าฝ่ายเป็นคนมอบ หรือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตมอบ
  • กรณีหัวหน้าฝ่าย เช่น หัวหน้าฝ่ายพัฒน์ฯ ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการกองทุนฯเขตโดยตำแหน่ง สามารถมอบหมายบุคคลอื่นเข้าประชุมแทนได้ (ไม่ต้องให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตมอบ)
  • กรณีผู้ที่เป็นคณะอนุกรรมการกองทุนฯเขตโดยระบุเป็นชื่อ จะไม่สามารถมอบหมายบุคคลอื่นเข้าประชุมแทนได้
(ด้านกฎระเบียบทางนิติการ) ผู้เสนอโครงการได้รับการอนุมัติโครงการและได้รับเงินสนับสนุนแล้ว ภายหลังต้องการเปลี่ยนแปลงโครงการ โดยเดิมขอจัดกิจกรรมในวัน เสาร์ - อาทิตย์ ต้องการเปลี่ยนแปลงเป็นวันราชการ คณะอนุกรรมการกองทุนฯเขต มีอำนาจในการพิจารณาหรือไม่

คณะอนุกรรมการกองทุนฯเขต สามารถพิจารณาอนุมัติการขอเปลี่ยนแปลงโครงการได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ต้องงบประมาณต้องไม่เพิ่มขึ้นจากจำนวนเงินที่ได้รับการอนุมัติไปแล้ว

(ด้านกฎระเบียบทางนิติการ) วัสดุ อุปกรณ์ที่ซื้อเพื่อใช้ในการดำเนินงานโครงการ เมื่อสิ้นสุดโครงการแล้วจะมอบให้ใคร?
  • กรณีที่เป็นวัสดุ สามารถมอบให้กลุ่มเป้าหมายที่มาร่วมกิจกรรมได้
  • กรณีเป็นครุภัณฑ์ กรุงเทพมหานครกำหนดให้ครุภัณฑ์นั้นตกเป็นของผู้เสนอโครงการ
(ด้านการดำเนินโครงการ) การจัดทำโครงการเพื่อแจกผ้าอนามัยให้กับนักเรียน สามารถขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ได้หรือไม่?

ต้องดูที่รายละเอียดโครงการว่ามีวัตถุประสงค์เพื่ออะไรการแจกผ้าอนามัยโดยตรงเป็นการให้สวัสดิการ ซึ่งไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯที่มุ่งเน้นการการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลปฐมภูมิเชิงรุก 

(ด้านการดำเนินโครงการ)อสส. เขียนโครงการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยมีกิจกรรมสำรวจลูกน้ำยุงลาย สามารถทำได้หรือไม่ ถือว่าซ้ำซ้อนกับการทำงานประจำหรือไม่?

สามารถดำเนินการได้ โดยเลือกพื้นที่ดำเนินการให้มากขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่มากยิ่งขึ้น จะได้เพิ่มการป้องกัน ควบคุมไข้เลือดออกในวงกว้าง ไม่ถือว่าซ้ำซ้อนกับการทำงานประจำ

(ด้านการดำเนินโครงการ)ศูนย์บริการสาธารณสุข ทำโครงการขอสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้หรือไม่?

ศูนย์บริการสาธารณสุข สามารถขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ในกรณีที่ใช้ในกิจกรรมการให้บริการปฐมภูมิเชิงรุก ซึ่งต้องเป็นการบริการที่ถึงประชาชนโดยตรง

(ด้านการดำเนินโครงการ)หากจะเขียนโครงการที่ต่อเนื่องจากโครงการที่เคยได้รับการอนุมัติไปแล้วเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนฯสามารถทำได้หรือไม่?

สามารถทำได้ ทั้งนี้ความเหมาะสมของโครงการอยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร หรือคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต

(ด้านการดำเนินโครงการ)ส่วนราชการภายในของหน่วยงานสามารถเขียนโครงการขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนฯตามประเภทโครงการ 6(2) ได้หรือไม่

ส่วนราชการหรือประชาชนที่รวมตัวกัน 5 คน ขึ้นไป สามารถเสนอโครงการเพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ได้

- กรณีที่เป็นส่วนราชการ ผู้เสนอโครงการ คือ หัวหน้าส่วนราชการ

- กรณีที่เป็นภาคประชาชน รวมตัวกัน 5 คนขึ้นไป ผู้เสนอโครงการ  

  คือ ประธานกลุ่ม

(ด้านการดำเนินโครงการ)โรงพยาบาลจัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากในประชาชน โดยมีค่าตรวจ Lab ในราคา 300 บาท/ราย สามารถทำได้หรือไม่?

หากเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากให้กับประชาชนโดยเป็นการจัดบริการเชิงรุก สามารถทำได้ ค่าตรวจ LAB ราคา 300 บาท ต้องแจกแจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายได้และต้องไม่เบิกงบประมาณซ้ำซ้อน ทั้งนี้ การอนุมัติอยู่ในดุลยพินิจของคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต

(ด้านการดำเนินโครงการ)การรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก คืออะไร?

หมายถึง การจัดบริการหรือการจัดกิจกรรมสาธารณสุขนอกหน่วยที่ตั้ง ซึ่งเป็นการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเบื้องต้นในชุมชน และเป็นการบริการที่นอกเหนือจากการจัดบริการปกติของหน่วยบริการ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงบริการได้มากขึ้น 

(ด้านการดำเนินโครงการ)การจัดทำโครงการกีฬา เพื่อให้เกิดการแข่งขันกีฬา สามารถทำได้หรือไม่?

ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่เป็นไปตามการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้กรุงเทพมหานคร ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2561 ข้อ6

(ด้านการดำเนินโครงการ)การจัดกิจกรรมฝึกปฏิบัติกีฬาฟุตซอล สามารถเบิกค่าวิทยากรได้หรือไม่ และสามารถเบิกได้กี่คน?

การที่จะเบิกค่าวิทยากรได้หรือไม่ ต้องพิจารณารายละเอียดของการฝึกปฏิบัติกีฬาฟุตซอล มีผลต่อการส่งเสริมสุขภาพหรือไม่อย่างไร เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องเหมาะสมกับโครงการหรือไม่     มีการวัดประเมินผลอย่างไร หากกิจกรรมนั้นให้บริการโดยตรงต่อประชาชนและเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคก็สามารถเบิกค่าตอบแทนหรือค่าวิทยากรตามระเบียบที่กำหนดไว้ได้ ส่วนที่จะเบิกได้กี่คนต้องพิจารณาจากกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย

(ด้านการดำเนินโครงการ)โครงการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิค สามารถของบค่าใช้จ่ายในการตอบแทนครูสอนเต้นต่อเนื่องทุกปีได้หรือไม่?

สามารถของบค่าใช้จ่ายในการตอบแทนครูผู้สอนเต้นต่อเนื่องทุกปีได้ ทั้งนี้ควรมีการรายงานผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาให้กับคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพเขต 

(ด้านการดำเนินโครงการ)กรณีสถานบริการหรือหน่วยบริการที่จะขอรับเงินสนับสนุนการจัดบริการเชิงรุก ต้องเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิเท่านั้นหรือไม่? หน่วยบริการอื่น เช่น โรงพยาบาลที่เป็นระดับทุติยภูมิ หรือตติยภูมิ สามารถให้การสนับสนุนได้หรือไม่?

สถานบริการหรือหน่วยบริการที่สามารถจัดบริการปฐมภูมิได้ไม่ใช่มีเพียงหน่วยบริการระดับปฐมภูมิเท่านั้น สถานบริการ หรือโรงพยาบาล หรือหน่วยบริการ สามารถขอรับการสนับสนุนได้ แต่กิจกรรมที่จัดต้องเป็นการบริการแบบปฐมภูมิเชิงรุก

(ด้านการดำเนินโครงการ)กรณีหน่วยงานจัดอบรมให้นักเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร หากจัดอบรมในวันหยุดราชการ ต้องขออนุมัติบุคคลตามระเบียบการฝึกอบรมหรือไม่?

กรณีที่เป็นหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร ต้องขออนุมัติตามระเบียบของกรุงเทพมหานคร

12.2 กรณีเป็นหน่วยงานภายนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร ให้ใช้ระเบียบของหน่วยงานนั้นๆ เว้นแต่ไม่มีระเบียบให้ใช้ระเบียบของกรุงเทพมหานคร

Page 1 of 1