ร.10

บางแค รณรงค์ลดเค็ม...กินอย่างไรไม่ให้ "สะเทือนไต" เค็มน้อย ก็อร่อยได้

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2567
image

>> สำนักงานเขตบางแค โดยนางพรพัน วัฒนสินธุ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตบางแค นำทีมเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ลุยลงพื้นที่ห้างสรรพสินค้า เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์บางแค รณรงค์ประชาสัมพันธ์ "โครงการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพ เพื่อป้องกันควบคุมโรค NCDs ชะลอไตเสื่อม" โดยมีประชาชนให้ความสนใจร่วมลงทะเบียนทำกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

>> ปรากฎผลการวิจัยจำนวนมากพบว่า การบริโภคโซเดียมในปริมาณมากอย่างต่อเนื่องนั้น เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ เอ็นซีดี (NCDs) การกินเค็มเป็นภัยเงียบ อาจไม่เห็นผลทันที ยกเว้นคนที่ไวต่อการกินเค็ม เช่น ผู้สูงอายุหรือคนที่มีโรคประจำตัว จะมีอาการตาบวม ขาบวม ความดันโลหิตสูงขึ้น ปวดหัว หิวน้ำบ่อย ที่น่ากังวลคือ มีผู้ป่วยโรคไตหรือไตวายอายุน้อยลงอยู่ที่ 35–40 ปี จากเดิมที่อยู่ที่ 50–60 ปี

>> สาเหตุหลักของการติดบริโภคเค็ม มาจากเมนูยอดฮิตติดเทรนต์ อาทิ อาหารสำเร็จรูป บุฟเฟต์ปิ้งย่าง หมูกระทะ อาหารญี่ปุ่น-เกาหลีที่มีรสเค็มจัดจากการหมักดองเกลือ รวมถึงเครื่องปรุงจำนวนมาก เมื่อบริโภคสะสมจะติดรสเค็มโดยไม่รู้ตัว

>> ลดเค็ม...เป็นพฤติกรรมสำคัญที่ควรปฏิบัติอย่างจริงจัง สามารถทำได้ง่ายแต่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่างๆ ได้หลายโรคด้วยกัน เนื่องจากปกติอาหารทั่วไปมักมีรสเค็มตั้งต้นอยู่แล้ว แต่พฤติกรรมคนไทยชอบเพิ่มรสเค็มเข้าไปอีก เช่น การเติมพริกน้ำปลา การจิ้มซอสหรือน้ำจิ้มที่มีส่วนประกอบของเกลือ ทำให้ร่างกายได้รับรสเค็มเป็นส่วนเกินและทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา

เค็ม=ไตวาย  เค็ม=ตายไว

เริ่มต้นง่ายๆ …บ๊ายบาย "เครื่องปรุง"

#ด้วยความปรารถนาดีจากสำนักงานเขตบางแค

คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่
  • 0%
  • 0%
ความคิดเห็น
0 รายการ